เรื่องสั้น เป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ที่ใช้เวลาในการเขียนสั้น แต่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เยอะกว่างานเขียนรูปแบบอื่นๆ เหตุผลเพราะ ความกระชับ และเข้าใจง่าย ทำให้สามารถดึงดูดผู้อ่านได้เป็นอย่างดี บทความนี้จะมาแนะนำ 10 ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นให้มัดใจคนอ่าน สำหรับนักเขียนมือใหม่ ที่ต้องการจะรังสรรค์เรื่องสั้นเรื่องแรก
10 ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นให้มัดใจคนอ่าน
1.เลือกธีม หรือโครงเรื่องหลักที่ต้องการเขียน
เรื่องสั้นที่ดี มาจากการเลือกธีม หรือโครงเรื่องหลักในการเขียนที่โดนใจ โดยการเลือกหัวข้อที่ว่ามานี้ มักจะมาจากประสบการณ์ของผู้เขียน ทั้งเรื่องความรัก, ความสูญเสีย, เรื่องราวลี้ลับ หรือเรื่องราวแปลกๆ ที่พบเจอในชีวิต เป็นต้น เลือกสิ่งที่เราอินเป็นพิเศษสามารถช่วยให้เราถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
2.สร้างสรรค์ตัวละคร
เรื่องราวต่างๆ จะมีรสชาติได้อย่างไรถ้าขาดตัวละคร การสร้างตัวละครให้สมจริง ทั้งเรื่องของอารมณ์ และความรู้สึก มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้เป็นอย่างดี จำนวนของตัวละครในเรื่องสั้นไม่ควรมีมากเกินไป และต้องออกแบบมาให้บุคลิกภาพของตัวละครต่างๆ สอดคล้องกับบทสนทนาที่สื่อออกมา
3.บทสนทนาจะต้องชัดเจน
ในส่วนบทสนทนาต่างๆ ให้เลือกใช้คำที่หลากหลายไม่ซ้ำซาก ไม่มีความจำเป็นต้องนอกเรื่อง เพราะต้องเขียนออกมาให้เข้าใจง่ายที่สุด
4.ฉากในการดำเนินเรื่อง
ในการบรรยายฉากในการดำเนินเรื่อง ให้ใช้ฉากที่เรารู้จักดีที่สุด เพราะจะทำให้มโนภาพของเราชัดเจน และเหมาะสมกับเรื่อง โดยสามารถใช้ฉากเดียว หรือหลายฉากภายในเรื่องก็ได้
5.การเปิดเรื่องให้น่าสนใจ
สิ่งที่จะสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านทำการอ่านเรื่องราวของเราต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับการเปิดเรื่องให้น่าสนใจ โดยสามารถสร้างสถานการบางอย่างที่ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นให้อ่านต่อไปเพื่อหาคำตอบ หรือการพรรณนาฉากให้เกิดภาพในหัว ให้ผู้อ่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ
6.การดำเนินเรื่องราว
ในการดำเนินเรื่องราวของเรื่องสั้น จะมีความเร็วกว่านวนิยาย หรือเรื่องแต่งชนิดอื่นๆ โดยจะต้องมีการวางปมเรื่อง เพื่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และดำเนินเรื่องเพื่อคลายปมประเด็นนั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถการใช้จุดแปรผันของเรื่อง หรือที่เรียกกันว่า Plot Twist เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสามารถคาดเดาเรื่องราวทั้งหมดได้
7.การปิดฉากเรื่องราวที่น่าสนใจ นำไปสู่จุดจบอันยิ่งใหญ่
ตอนที่สำคัญที่สุดของเรื่องสั้น ก็คือตอนจบ จะต้องคลี่คลายปมต่างๆ ที่เราทิ้งมาตลอดทั้งเรื่อง โดยจะมีการปิดเรื่องหลักๆ ที่สามารถพบเจอได้บ่อยๆ นั่นก็คือ การจบลงด้วยดี มีความสุข, สิ้นหวัง ทุกข์ระทม และตอนจบแบบที่คาดเดาไม่ถึง
8.ตรวจทาน และแก้ไข
เมื่อเรารังสรรค์เรื่องสั้นออกมาเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนถัดไปจะเป็นเรื่องของการตรวจทาน หาจุดผิด และกระชับเรื่องราวในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือแก้ไขส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย เพื่อให้งานเขียนของเรามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
9.ติเพื่อก่อ
การที่เราให้ใครซักคน ได้อ่านเรื่องราวที่เรารังสรรค์ และให้ฟีดแบคต่างๆ ทั้งในแง่ดี หรือแง่การปรับปรุง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่เราสามารถนำข้อมูลตรงนี้มาปรับปรุง และแก้ไขให้ดีขึ้นด้วยมุมมองจากผู้อ่านที่แท้จริง
10.มีความสุขในการเขียน
เทคนิคการเขียน และการร้อยเรียงเรื่องราว ไปจนถึงการตรวจทานและแก้ไขนั้นสำคัญ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือความสุข และความรักในการเขียน ส่วนนี้สามารถช่วยให้เรื่องสั้นของเราถูกเขียนออกมาได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อดำเนินการจนแน่ใจแล้วว่า เรื่องสั้นที่เราเขียนออกมานั้น เสร็จสิ้นสมบูรณ์เรียบร้อย ก็สามารถนำไปตีพิมพ์ด้วยการส่งสำนักพิมพ์ หรือทำการโพสต์ลงช่องทางสำหรับการเผยแพร่เรื่องสั้น ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีความสุขไปกับการเขียน เขียนด้วยความรัก และความเข้าใจ และทำตามขั้นตอน ก็สามารถแต่งเรื่องสั้นที่ดีออกมาได้อย่างแน่นอน หรือหากคุณกำลังมองหามืออาชีพเขียนเรื่องสั้นเนื้อหาเขียนขึ้นมาสดใหม่ ได้ที่ Fastwork.co เรามีแหล่งรวมนักเขียนเรื่องสั้น คุณภาพ การันตีงานเร็ว โดยผู้มีประสบการณ์