ใครกันที่เป็นคนเริ่มบอกว่าคนไทยนั้นอ่านหนังสือน้อย อ่านหนังสือกันไม่ถึง 8 บรรทัด ทั้งที่ความจริงแล้วคนไทยโดยเฉพาะชาวโซเชียลก็อ่านกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งอ่านโพสต์ อ่านทวิต อ่านข่าว อ่านคอมเมนต์ อ่านแชท อ่านข้อความโฆษณาต่าง ๆ ไปจนถึงอ่านบทความเพื่อหาคำตอบในเรื่องที่คุณสนใจและสงสัยกันอีกด้วย สำหรับใครที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็คงจะผู้ที่ชื่นชอบการอ่านและกำลังจะอยากผันตัวเป็นผู้เขียนกันใช่หรือไม่ เนื่องในโอกาสอันดีครั้งนี้ทางเราจึงจะมาช่วยเปิดเทคนิคต่าง ๆ ในการเขียนบทความให้กับคุณ คุณที่กำลังคิดจะเขียนบทความสักบท ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลอะไรในการเขียนหรืออยากเขียนก็ตาม
ทำความรู้จักกับการเขียนบทความเบื้องต้น
บทความ (article) คืองานเขียนที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หลักเพียง 1 – 2 อย่าง ซึ่งเนื้อหาภายในอาจจะเป็นการนำประเด็นต่าง ๆ มาถกด้วยข้อเท็จจริง การแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน การเขียนเรื่องราวที่เคยประสบมา การเขียนเพื่อโฆษณาหรือนำเสนอสินค้า การสัมภาษณ์บุคคล การเขียนข่าวสาร การส่งต่อเรื่องราวการวิจัยหรือวิชาการ เป็นต้น
โดยบทความในอินเทอร์เน็ตและปัจจุบัน มักจะมีความยาวประมาณ 500 – 2,000 คำ เพื่อให้ง่ายต่อการย่อยข้อมูลของผู้อ่าน และสามารถอ่านจบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่เกิน 10 นาที หากคุณกำลังเป็นผู้ที่สนใจในการเขียนบทความหรือต้องการเขียนบทความของตัวเองขึ้นมาบ้างสักบท ควรยึดหลักโครงสร้างบทความดังต่อไปนี้
-
- หัวข้อ (Topic) หัวข้อของบทความ ควรมีการระบุไว้ชัดเจนว่าเนื้อหาบทความเกี่ยวกับอะไร มีความชัดเจน ไม่ได้สั้นมากหรือยาวมาก
- เกริ่นนำ (Intro) เกริ่นนำของบทความ ควรเป็นส่วนที่ระบุว่าบทความนี้จะกล่าวถึงอะไร เช่น บอกว่าผู้เขียนบทความค้นพบปัญหาอะไรและจะมาบอกถึงวิธีแก้ไขต่าง ๆ ในบทความนี้อย่างไร ซึ่งเกริ่นนำที่ดีควรจบภายใน 1 ย่อหน้า
- เนื้อหา (body) เมื่อจบการเกริ่นนำแล้ว ควรเข้าเนื้อหาหลักของบทความ โดยในบางบทความ อาจจะมีการปูพื้นฐานความรู้หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันสักเล็กน้อย เช่น บทความเกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็ง อาจต้องกล่าวก่อนว่าโรคมะเร็งคืออะไร อันตรายต่อมนุษย์อย่างไร จากนั้นก็กล่าวถึงการป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น
- สรุป (Conclusion) หลังจากที่จบเนื้อหาหลักของบทความ ผู้เขียนควรจะสรุปเรื่องราว โดยอาจเป็นการนำเรื่องราวในบทความมาย่อสั้น ๆ เหลือ 1 ย่อหน้า หรือว่าเป็นข้อคิดที่ได้จากบทความ หรือทิ้งประเด็นบางอย่างไว้ในใจของผู้อ่านก็ได้เช่นกัน
- อ้างอิง (Reference) สำหรับบทความวิชาการ หรือบทความที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือ จำเป็นจะต้องใส่อ้างอิงหรือแหล่งที่มาของบทความ หากแหล่งที่มาเหล่านั้นเป็นเว็บไซต์หรือบทความบนอินเทอร์เน็ต ควรจะแนบลิงก์เพื่อยืนยันว่ามีที่มาและต้นฉบับที่น่าเชื่อถือได้จริง (แต่ถ้าหากคุณเขียนบทความขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องมีอ้างอิง)
รวมเทคนิคเขียนบทความ ให้คนอยากอ่าน
-
เขียนในสิ่งที่คนอยากอ่าน
เทคนิคแรกสำหรับการเขียนบทความให้คนอยากอ่าน นั่นก็คือเขียนในสิ่งที่คนอยากอ่านนั่นเอง ซึ่งการจะล่วงรู้ว่าคนเราอยากจะรู้เรื่องอะไรสักอย่างนั้น สามารถทำได้ง่ายมากในโลกที่มีอินเทอร์เน็ต โดยการใช้ Google เข้ามาช่วย เพียงแค่คุณลองเสิร์ชดูว่าคำนั้น ๆ หรือหัวข้อนั้นมีผู้ค้นหาเท่าไร หากมีผู้ค้นหามากก็หมายความว่ามีผู้ที่อยากรู้อยากอ่านเรื่องนั้นมาก ถ้าหากมีผู้ค้นหา Google ก็ยังสามารถแนะนำหัวข้อที่เกี่ยวข้องให้ได้ด้วย อีกทั้งทาง Google และเว็บไซต์ต่าง ๆ เองก็ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อมาช่วยเหลือคุณในด้านนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Google Trends, Search Volume หรือ Google keyword planner
-
ไม่จำเป็นต้องเขียนบทความด้วยภาษาวิชาการ
หากคุณเขียนบทความวิชาการ การเขียนด้วยภาษาวิชาการก็เป็นเรื่องที่สมควรและเหมาะสม แต่ถ้าหากคุณไม่ได้กำลังเขียนบทความวิชาการอยู่ คุณก็สามารถที่จะเขียนบทความต่าง ๆ ด้วยภาษาที่ไม่เป็นทางการได้ เนื่องจากการเขียนนั้น ผู้อ่านจะได้เห็นเพียงตัวอักษร หากคุณใช้ภาษาวิชาการทั้งหมด อาจจะทำให้บทความของคุณดูน่าเบื่อ แข็งทื่อ เข้าใจยากและเป็นทางการเกินไป ยิ่งเป็นบทความบนอินเทอร์เน็ตก็จะทำให้ผู้อ่านปิดบทความของคุณไปได้ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ถ้าหากคุณใส่ภาษาที่ไม่เป็นทางการลงไปบ้าง ก็จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ดูมีสีสันและยืดหยุ่น
-
เขียนในสไตล์ของคุณ
สำหรับผู้ที่หัดเขียนบทความช่วงแรก อาจจะยังหาแนวทางการเขียนของตัวเองไม่เจอ แต่แนะนำให้คุณลองอ่านบทความมาก ๆ เพื่อเรียนรู้และศึกษาว่าชอบการเขียนแบบใด แล้วลองเขียนบทความตามแบบในสไตล์นั้น (แต่ไม่ใช่ลอกเลียนแบบบทความมา) เมื่อคุณเขียนจนมีสไตล์และตัวตนของตัวเองแล้ว ตัวตนนั้นจะเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดคนที่ชื่นชอบในความเป็นตัวคุณเข้ามาเองโดยธรรมชาติ
-
วางแผนการเขียนบทความให้ดี
สำหรับโครงสร้างเบื้องต้นของบทความ คงจะได้รู้จักกันไปแล้วในหัวข้อข้างต้น ซึ่งการวางโครงสร้างของบทความเอาไว้ก่อน จะทำให้สามารถวางแผนการเขียนออกมาได้ดี ทำให้เนื้อหาไม่ออกทะเลไปเรื่องอื่น และการันตีได้ว่าผู้อ่านจะได้รับสิ่งที่ต้องการกลับไปจริง ๆ ซึ่งการเขียนบทความ 1 บทก็ควรอยู่ในกรอบ 500 – 2,000 คำ เพื่อไม่ให้บทความสั้นหรือยาวเกินไป นอกจากนี้ใน 1 ย่อหน้า ก็ไม่ควรเขียนยาวเกิน 5 – 8 บรรทัด เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน
-
การใส่ภาพประกอบและการย่อยหัวข้อ จะทำให้ดูน่าอ่านมากขึ้น
การใส่ภาพประกอบนั้นได้รับการพิสูจน์ในแง่วิชาการมาแล้ว ว่าบทความที่มีภาพประกอบมักจะได้รับความสนใจมากกว่าบทความที่ไม่มี เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกได้พักสายตา รู้สึกผ่อนคลายว่าไม่ได้มีเนื้อหาอัดแน่นจนเกินไป นอกจากนี้แล้ว การย่อยเนื้อหาหลักในรูปแบบของหัวข้อต่าง ๆ เอง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าบทความนั้นอ่านง่าย เพราะหัวข้อต่าง ๆ ก็เป็นเสมือนสรุปว่าย่อหน้านั้น ๆ ผู้เขียนต้องการกล่าวถึงอะไรและย่อยเนื้อหาโดยสรุปมาให้ผู้อ่านแล้วนั่นเอง
โดยทั้งหมดนี้คือหลักการเขียนบทความเบื้องต้น และเทคนิคการเขียนบทความ ซึ่งทางเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นเขียนบทความ และผู้ที่อยากจะลองเขียนบทความ แต่ถ้าหากคุณต้องการผู้ช่วยด้านการเขียนบทความตัวจริง Fastwork เราก็ได้มีฟรีแลนซ์คุณภาพที่เชี่ยวชาญ และพร้อมด้วยประสบการณ์การเขียนบทความ มาแนะนำให้คุณรู้จักกันแล้ว
ตัวอย่างฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจ
1. คุณ Paripop
ฟรีแลนซ์เขียนบทความผู้มากประสบการณ์ทางด้านการเขียนวิจัยและการทำบทความ มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจ ด้านบัญชี ด้านการจัดการ การตลาด และการเงิน อีกทั้งยังสามารถแปลบทความได้ทั้งไทยและอังกฤษ เขียนข่าว เขียนบทความ เขียนโฆษณา และ Essay ได้อีกด้วย
สนใจจ้างคุณ Paripop : คลิกที่นี่
2. คุณ kwuntong
ฟรีแลนซ์ผู้เป็นที่ปรึกษาและวางการตลาดออนไลน์มาตลอด 15 ปี ซึ่งมีทีมงานพรั่งพร้อมสำหรับการช่วยเหลือคุณในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคิดคอนเทนต์ การเขียนคอนเทนต์ ออกแบบกราฟิกต่าง ๆ การผลักดันและนำเสนอเทคนิคการขายต่าง ๆ เพื่อให้คุณประสบความสำเร็จในทุกแง่มุม
สนใจจ้างคุณ kwuntong : คลิกที่นี่
3. คุณ kanwarab
ฟรีแลนซ์ด้านงานเขียน ผู้รับทำ thesis, assignment, Research และ Essay เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังสามารถเขียนเรื่องสั้นภาษาอังกฤษให้คุณได้ สามารถช่วยคุณหาข้อมูลสำหรับทำ research เป็นภาษาอังกฤษได้ และยังสามารถแปลบทความ รายงานต่าง ๆ ให้คุณเป็นภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
สนใจจ้างคุณ kanwarab : คลิกที่นี่