การเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์คือส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยแต่ละสถานศึกษานั้นๆ ต่างก็ต้องมีเงื่อนไขที่จะนำบทความวิจัยประเภทต่างๆ ไปตีพิมพ์หรือจะเผยแพร่ทางออนไลน์ เช่น เงื่อนไขการจบการศึกษาของบัณฑิต หรือ การเลื่อนตำแหน่งทางการศึกษาของคณาจารย์ เป็นต้น ซึ่งการเขียนบทความวิจัยนั้นผู้เขียนเองต่างต้องจำเป็นต้องรู้ส่วนประกอบต่างๆ ของบทความวิจัยแต่ละประเภทก่อนที่จะเขียนบทความ เพื่อนำไปปรับใช้ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดนั่นเอง โดยจะมีเทคนิคอะไรแนะนำบ้างไปติดตามกัน
ส่วนประกอบของการเขียนบทความวิจัยมีอะไรบ้าง?
การเขียนบทความวิจัยคืองานเขียนเชิงวิชาการที่มีแบบแผน ดังนั้นการเขียนวิจัยให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เขียนต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ของการเขียน โดยตามหลักแล้วจะมีการกำหนดรูปแบบบทความวิจัยดังนี้
1. ชื่อเรื่อง (Title)
สิ่งนี้สามารถช่วยดึงดูดเราได้ จากการตั้งชื่อหัวเรื่องสำหรับการเขียนงานวิจัย โดยจะต้องเป็นไปตามแนวทาง คือ มีความกระชับ แสดงเนื้อหาชัดเจน และครอบคลุมทั้งหมด โดยที่ไม่ต้องเป็นในรูปแบบประโยค
2. ผู้เขียน (Authors)
คือชื่อของผู้เขียนและเสนอบทความวิจัย รวมไปถึงผู้ร่วมเขียน /ผู้ร่วมวิจัย ที่ต้องระบุชื่อ-นามสกุลให้ชัดเจน รวมไปถึงช่องทางการติดต่อต่างๆ เบอร์โทร อีเมล หรือช่องทางโซเชียลมีเดีย
3. บทคัดย่อ (Abstract)
คือการย่อเรื่องและผลสรุปจากการเขียนงานวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างคร่าวๆ โดยจำเป็นต้องมีภาษาอังกฤษกำกับไว้เพื่อความเป็นสากลโดยในส่วนบทคัดย่อนี้จำนวนคำที่ถือว่ายอมรับได้อยู่ที่ 250 คำหรือประมาณ 10 บรรทัด และประกอบด้วย ตัวแปร ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือทางการวิจัย การรวบรวมข้อมูล สถิติวิเคราะห์ข้อมูลผลจากการวิจัยและข้อเสนอแนะ
4. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
คือข้อมูลในส่วนของ กลุ่มประชากรที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล จนไปถึงสถิติในการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
5. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ (Discussion and Suggestion )
การสรุปผล อภิปรายสิ่งที่ประสบพบเจอปัญหาในด้านต่างๆ ความสอดคล้อง หรือ ความขัดแย้งต่อสมมุติฐานที่เราได้ตั้งหรือไม่ รวมไปถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย และเมื่อเปรียบเทียบกับผลวิจัยอื่นๆ ว่าแตกต่างอย่างไรหากแตกต่างก็ควรที่จะเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
เมื่อเรารู้ส่วนประกอบต่างๆ ในของสร้างของการเขียนบทความวิจัยแล้วเทคนิคในการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ ก็ล้วนมีความสำคัญเช่นกันเพราะหากเราไม่สามารถเขียนบทความวิจัยให้มีมาตรฐาน การได้รับเลือกในการตีพิมพ์นั้นมีโอกาสน้อยมากๆ ดังนั้นเรามาศึกษาเทคนิคที่น่าสนกันว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัย
1. การใช้ภาษา
การใช้ภาษาให้สอดคล้องกับการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่ออนไลน์ ต่างก็ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการไม่ควรใช้คำสรรพนามหรือภาษาพูด เพราะจะทำให้ชิ้นงานขาดความน่าเชื่อถือโดยหากได้รับการตีพิมพ์ในวารสารภาษาไทยการใช้คำทำศัพท์ภาษาอังกฤษจะต้องสอดคล้องกับคำศัพท์จากราชบัณฑิตยสถาน รวมไปถึงรูปแบบการเขียนในวารสารประเภทต่างๆ ซึ่งจะมีข้อกำหนดในการตีพิมพ์ที่แตกต่างกัน เช่น การอ้างอิง หรือการจัดเรียงเนื้อหา (Format) เป็นต้น
2. เนื้อหา
เนื้อหาควรไปในแนวทางเดียวกันไม่ออกนอกประเด็นเข้าใจง่ายผู้อ่านอ่านแล้วต้องเกิดการตั้งคำถามได้ความรู้รวมไปถึงทฤษฎีความคิดใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ต่อไปในงานเขียนบทความวิจัยใหม่ๆ
3. การเขียนบทความวิจัย
3.1 ชื่อเรื่อง
การคิดชื่อเรื่องในหัวข้อการเขียนบทความวิจัยต่างๆ ต้องเริ่มจากหัวข้อในวงกว้างเนื่องจากจะสามารถหาเอกสารอ้างอิงได้ง่ายและสะดวกในการนำเอกสารมาอ้างถึง เพื่อใช้ประกอบบทความวิจัยนั้นต้องใช้เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องทั้งชื่อเรื่อง, ผู้เขียน (title), (author) หน่วยงานต้นสังกัด (affiliation) จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบทความของเรา ข้อสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่มีความกำกวมและไม่น่าสนใจ แต่ควรใช้ชื่อเรื่องประเด็นสำคัญแบบทางตรง เพื่อให้ตรงจุดประสงค์แก่ผู้ที่สนใจเรื่องนั้นๆ
3.2 บทนำ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ควรอ้างถึงงานวิจัยที่ออกใหม่อย่างน้อยไม่เกิน 4 ปี และเลือกจากชื่องานเขียนบทความวิจัยที่ใกล้เคียงกันกับบทความของเราด้วย เพื่อให้ทราบว่างานวิจัยของเราสามารถตอบโจทย์อะไรบ้างรวมทั้งมีความแตกต่างจากงานเขียนก่อนหน้าอย่างไร
3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการนำเสนอผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผ่านการเปรียบเทียบในหลายๆจุด คือผลการศึกษา เสนอประเด็นทฤษฎีและวิจารณ์ในสิ่งที่เราเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และนำข้อมูลเรานั้นมานำเสนอ
3.4 การสรุป
ควรกล่าวถึงสาเหตุของการทำงานวิจัยในครั้งนี้ว่าทำขึ้นเพื่อศึกษาหรือแก้ปัญหาอะไรได้บ้างจากนั้นก็อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง แล้วก็ปิดท้ายด้วยการให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของงานวิจัย
3.5 ระบบการอ้างอิง
โดยหลักๆ แล้วระบบการอ้างอิงนั้น ทั่วโลกมีอยู่หลากหลายแบบ แต่ในทางสากลมีนิยมใช้แบบ APA (American Psychological Association) โดยใช้แบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text) โดยมีหลากหลายรูปแบบ และที่สำคัญควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทงานเขียนของคุณ
ตัวอย่างฟรีแลนซ์เขียนบทความงานวิจัย
คุณ Prim
จบปริญญาโทที่อเมริกา TOEIC: 950 IELTS:7.5 ใส่ใจรายละเอียด และมีความรับผิดชอบ รับงานด่วน งานแปลเอกสาร งานถอดเทป งานพิมพ์ทั่วไป พิมพ์ตาม pdf ทำรายงาน Essay(Argumentative,Narrative,Descriptive etc.)/SOP/Paraphrase/ เขียน script ไว้ present/Summary/Research Paper/ Resume
คุณ Naphat
จบจาก วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ถนัดด้านงานเขียนทั้งไทยและภาษาอังกฤษ ออกแบบ graphic design แขนงต่างๆ รวมถึงการทำสิ่งพิมพ์ จัดวางงานต่างๆ ไปจนถึง ทำรีพอร์ตและจัดทำข้อมูลแบบ Data Analytics
คุณ Prang
ปัจจุบันเป็นนักวิชาการ อดีตนักเรียนทุนป.โท และเคยฝึกงานกับองค์กรนานาชาติที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จบป.ตรีคณะเศรษฐศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับ1) สมัยเรียนเคยไปแลกเปลี่ยนที่ยุโรป 1 ปี และเป็นผู้ช่วยวิจัยอาจารย์ รวมทั้งมีประสบการณ์เคยเป็นบรรณาธิการวารสารของคณะ และเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์
จากการที่ได้นำเสนอถึงส่วนประกอบต่างๆ รวมไปถึงเทคนิคการเขียนบทความวิจัยนั้นต่างเป็นงานที่มีความเฉพาะและต้องมีรูปแบบการเขียนที่เป็นตัวของตัวเอง การที่จะได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่นั้น งานชิ้นนั้นต้องมีคุณค่าในตัวของมันเอง แต่ต้องยังคงมีเกณฑ์และผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยควบคู่ไปกับคุณค่าในการสร้างองค์ความรู้ ทฤษฎีใหม่ให้แก่ผู้ศึกษา สิ่งที่สำคัญคือจริยธรรมทางวิชาการ ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หากละเมิดหรือคัดลอก เพราะนอกจากบทความวิจัยของเราจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นแล้ว ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ตามที่คุณคาดหวังไว้ด้วยเช่นกัน