ในยุคของปัจจุบันนี้ ไม่ว่าใครก็คงมีความฝันที่จะเปิดธุรกิจเล็ก ๆ เป็นของตัวเองกันอยู่แน่นอน และทุกวันนี้การจะดำเนินธุรกิจห้างร้านสักแห่งก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ผู้คนที่เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์หรืออยากจะดำเนินชีวิตเป็นเจ้านายตัวเองก็ประสบความสำเร็จกันมากมาย แต่สิ่งที่จะช่วยเกื้อหนุนกิจการของทุกท่านให้เป็นไปอย่างราบรื่น หรือมีสภาพคล่องโดยที่มองข้ามไปไม่ได้เลย ก็คือสินเชื่อธุรกิจ
สินเชื่อธุรกิจ SMEs คืออะไร
SMEs สามารถเรียกเป็นคำศัพท์ในแวดวงธุรกิจได้ว่า วิสาหกิจรายย่อย หรือถ้าหากให้สรุปง่าย ๆ ก็คือกิจการร้านค้าหรือธุรกิจขนาดเล็กที่มีผลประกอบการไม่สูงมากนั่นเอง ซึ่งทางธุรกิจก็ได้จำกัดเอาไว้ว่าต้องเป็นธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 20 ล้าน
ส่วนสินเชื่อธุรกิจ ก็คือสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้นี่เอง โดยทางธนาคารต่าง ๆ จะจำกัดวงเงินเอาไว้ เพื่อให้คุณที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก สามารถขอสินเชื่อหรือเงินก้อนเหล่านั้นไปต่อยอดในการทำธุรกิจ นำไปหมุนเวียนสภาพคล่อง และทำการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
สิ่งที่ต้องเตรียม ก่อนขอสินเชื่อธุรกิจ SMEs
1. ศึกษาสินเชื่อธุรกิจให้ดีเสียก่อน
ลำดับแรกก่อนจะเริ่มต้นขอสินเชื่อธุรกิจใด ๆ เลย ก็คือคุณจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องสินเชื่อให้ดีเสียก่อน เนื่องจากปัจจุบัน ทางธนาคารแต่ละแห่งก็ได้มีสินเชื่อธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปทั้งวงเงินกู้ ระยะเวลาชำระหนี้ จำนวนดอกเบี้ย ฯลฯ เพื่อนำมาเสนอให้ตรงใจและตรงกับสิ่งที่ผู้ดำเนินกิจการต้องการมากที่สุด เรียกได้ว่าต่อให้เป็นธนาคารเดียวก็สามารถมีรูปแบบสินเชื่อธุรกิจที่หลากหลายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่จะต้องศึกษารูปแบบสินเชื่อต่าง ๆ และธนาคารไหนมีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับคุณที่สุดแต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สินเชื่อธุรกิจจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ
– สินเชื่อธุรกิจ แบบมีหลักทรัพย์
สินเชื่อธุรกิจแบบมีหลักทรัพย์นั้น จะเหมาะสำหรับผู้ที่เปิดกิจการมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีความมั่นคงทางการเงินเล็กน้อย และสามารถนำเงินฝาก หรืออสังหาริมทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินได้ โดยสินเชื่อธุรกิจประเภทนี้จะเป็นสินเชื่อที่มีวงเงินสูง มีระยะเวลาชำระหนี้ที่ยาวนาน หรือดอกเบี้ยน้อยกว่า และมักจะได้รับอนุมัติง่ายกว่าอีกด้วย
– สินเชื่อธุรกิจ แบบไม่มีหลักทรัพย์
สำหรับผู้ที่เพิ่งเปิดกิจการได้ไม่นาน ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่ากิจการจะมีความมั่นคงในระดับใด หรือไม่สามารถค้ำประกันวงเงินได้ แล้วต้องการเงินจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปหมุนเวียน ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อรูปแบบนี้ได้ แต่เงื่อนไขต่าง ๆ อาจจะไม่ยืดหยุ่นเท่าแบบมีหลักทรัพย์
2. สอบถามรายละเอียดจากทางธนาคาร
เมื่อคุณศึกษาสินเชื่อธุรกิจต่าง ๆ มาจนพอเข้าใจแล้ว คุณก็คงจะรู้จักแล้วใช่หรือไม่ว่าสินเชื่อนั้นเป็นอย่างไร แต่ละธนาคารนั้นมีรูปแบบไหนที่เหมาะสมกับกิจการของคุณมากที่สุด โดยสิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อมก่อนจะจัดทำเอกสาร นั่นก็คือสอบถามรายละเอียดจากทางธนาคารนั้นโดยตรงกันเลย
เนื่องจากบางธนาคารนั้นอาจจะขอเอกสารเพิ่มเติม หรือมีการอัปเดตเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มเติม จึงควรที่จะคุยกับทางธนาคารให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะไปยื่นสินเชื่อธุรกิจจริง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้คุณก็สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ง่าย ๆ ผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์ แชทเพจ หรืออื่น ๆ กันได้แบบเรียลไทม์แล้ว โดยไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาเสียเที่ยวในการเดินทางไปธนาคารบ่อย ๆ ในตอนที่คุณยังมีธุรกิจร้านค้าให้จัดการดูแล
3. เตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม
หลังจากที่คุณศึกษาสินเชื่อธุรกิจ และได้รูปแบบสินเชื่อที่คุณต้องการมาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะเข้าไปยื่นขอสินเชื่อธุรกิจที่ธนาคาร และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเลย ก็คือการเตรียมเอกสารต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งเอกสารต่าง ๆ อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามรูปแบบของสินเชื่อหรือว่าตามแต่ที่ธนาคารกำหนดมา แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เอกสารที่คุณต้องใช้จะมีดังนี้
-
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นสินเชื่อ
- สำเนาทะเบียนสมรส
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์หรือการจดทะเบียนการค้า (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงรายได้ (บัญชีบริษัท) ตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 6 เดือนก่อนหน้า
- รูปภาพแสดงกิจการร้านค้า (เป็นการยืนยันว่ามีธุรกิจหน้าร้านอยู่จริง)
ซึ่งถ้าหากเป็นผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อธุรกิจแบบมีหลักทรัพย์ ก็จำเป็นต้องมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ด้วย เช่น มีหลักประกันเป็นที่ดิน ควรแนบสำเนาโฉนดที่ดิน เป็นต้น
แต่เอกสารข้างต้นนี้จะเป็นเอกสารในกรณีที่คุณยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบบุคคลธรรมดา ถ้าหากคุณอยากจะยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบนิติบุคคล หรือก็คือในนามของบริษัทร้านค้า ก็จำเป็นจะต้องมีเอกสารข้างต้นทั้งหมด และเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
-
- สำเนาเอกสารรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- สำเนาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล (ไม่ควรเกิน 3 – 6 เดือน)
- รายงานการประชุมของนิติบุคคลขอสินเชื่อหรือเปิดบัญชีธนาคาร
- งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี
- สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียภาษีของนิติบุคคล
- สำเนาใบแสดงภาษีเงินได้
- สำเนาสัญญาซื้อขายหรือสัญญามัดจำ
- สำเนาเอกสารหลักประกัน
- บัญชีบริษัทจากสถาบันการเงิน (ย้อนหลัง 6 เดือนล่าสุดเป็นต้นไป)
ตัวอย่างฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจ
คุณ Rachata
ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาได้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นทางโทรศัพท์ สามารถเขียนแผนธุรกิจสำหรับกู้ธนาคารและหานักลงทุนให้กับคุณได้จริง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหญ่หรือเล็ก
คุณกนกณัฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวางแผนธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษาด้านแผนธุรกิจของคุณและสามารถให้คำปรึกษาสำหรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ในระดับมืออาชีพ ผู้ว่าจ้างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าให้คำแนะนำดี มีความรับผิดชอบ และตอบได้ทุกปัญหา
คุณThanakorn
หรือคุณธนากร ชันทอง อีกหนึ่งผู้ให้คำปรึกษาด้านการยื่นบัญชี ภาษี และสินเชื่อธุรกิจ สามารถวางแผนธุรกิจอย่างครบวงจรให้กับคุณได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลืองานด้านการตลาดออนไลน์บนแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ด้วยราคาย่อมเยา
สำหรับใครที่กำลังจะริเริ่มเปิดธุรกิจ SMEs ของตัวเอง อยากได้ที่ปรึกษาทางธุรกิจหรือว่าต้องการที่จะสอบถามเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับสินเชื่อธุรกิจในอนาคต ก็ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกล Fastwork ได้สรรหาบุคคลที่สามารถเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ ทั้งการวางแผนการเงิน หรือการยื่นขอสินเชื่อธุรกิจต่าง ๆ มาให้กับคุณแล้ว