รู้ตัวอีกทีก็อายุใกล้ 30 เข้ามาทุกที หลายคนก็หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินกันมากขึ้น จากแต่ก่อนที่คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นของคนอายุมากเท่านั้น เมื่อความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงินและการเกษียณในปัจจุบันได้รับความนิยมและแพร่หลายแนวคิดสู่วัยรุ่นกันมากขึ้น จึงทำให้วันทำงานที่ย่างเข้า 30 อยากที่จะเริ่มต้นวางแผนการเงินให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน บทความนี้จะมาบอกเรื่องที่คุณต้องรู้เพื่อให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมกันค่ะ
การวางแผนการเงินคืออะไร?
การวางแผนการเงิน คือ การวางแผนเกี่ยวกับการจัดสรรการเงินเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ให้ชีวิตในอนาคตสามารถดำเนินไปได้อย่างมั่นคง สุขสบาย และไม่ลำบากด้านการเงิน โดยการวางแผนการเงินที่ดีนั้นจะทำให้ภาพอนาคตที่วาดฝันมีความชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บออม การลงทุน การเกษียณอายุ รวมไปถึงการวางแผนทำธุรกิจ เป็นต้น
แม้หลายคนมองว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก เพราะอายุยังไม่มากและไม่ควรกังวลเรื่องเงินเร็วเกินไป หรือ มองว่าอนาคตยังอีกไกลยังไม่จำเป็นต้องวางแผนการเกษียณไว้ตั้งแต่ก่อน 30 แต่ทราบหรือไม่ว่าเป้าหมายด้านการเงินมีตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่าเวลา ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ ดังนั้นการวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องที่ยิ่งเริ่มได้เร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่านั่นเอง
เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินก่อนอายุ 30
ใครที่อายุใกล้เลข 30 เข้ามาทุกทีแล้วอยากจะเริ่มต้นวางแผนการเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ควรทำความเข้าใจทั้ง 6 เรื่องต่อไปนี้เพื่อให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และเป็นไปตามเป้าหมายได้อย่างมั่นคง
1. ปรับแนวคิดด้านการเงินให้พร้อมกับการวางแผนการเงิน
เริ่มต้นจากการปรับแนวความคิดเกี่ยวกับการเงินเป็นอันดับแรก หากที่ผ่านมาคุณยังไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินอย่างจริงจัง ลองสำรวจแนวความคิดดูว่าคุณเก็บเงินจากเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าคำตอบของคุณคือใช่นั่นหมายความว่าคุณคิดผิดมาตลอด เพราะความจริงแล้วเงินเก็บควรมาจากการเก็บก่อนใช้ โดยการวางแผนการเงินหลังจากที่คุณได้รับเงินเดือนมาให้คุณหักเงินออมเป็นอันดับแรก เพื่อให้สร้างวินัยทางการเงินที่ดีและที่สำคัญคือคุณจะได้ใช้เงินที่เหลืออย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เงินเดือน-เงินออม = ค่าใช้จ่าย
2. ทบทวนบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนวางแผนการเงิน
การทบทวนค่าใช้จ่ายที่มีทั้งหมดในปัจจุบันของคุณเป็นการเริ่มต้นสร้างวินัยที่ดี เพื่อให้สามารถจัดการการเงินได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณจะเห็นภาพความเป็นจริงในไลฟ์สไตล์การใช้เงินของตัวเองได้ชัดเจนว่าส่วนไหนบ้างที่สามารถลด-เพิ่ม ค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมได้ หลังจากนั้นให้คุณจัดสรรบัญชีการเงินอย่างเป็นระบบ โดยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละเดือนของตนเอง และควรมีบัญชีเงินออมแยกไว้ตามเป้าหมายในการออมเงินของคุณเป็น เงินออมระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
3. เพิ่มความปลอดภัยให้แผนการเงินด้วยเงินสำรองฉุกเฉิน
เงินสำรองฉุกเฉิน คือ การวางแผนการเงินเบื้องต้นที่ทุกคนในวัย 30 ต้องมี เพราะเป็นเงินออมส่วนแรกที่คุณต้องจัดเตรียมไว้เพื่อนำมาใช้ในยามจำเป็น โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายประจำวัน การออมเพื่อการลงทุน หรือ การออมเพื่อการเกษียณ แต่มันคือเงินออมที่เผื่อใช้ในกรณีที่สภาพคล่องทางการเงินของคุณเข้าสู่วิกฤต เช่น ว่างงาน เจ็บป่วย หรือ ซ่อมรถยนต์ ซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น กล่าวคือเป็นเงินก้อนสำคัญที่คุณสามารถนำมาใช้จ่ายได้คล่องตัวเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้น
เงินสำรองฉุกเฉินที่ดีควรมีให้ครอบคลุมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 6-12 เดือน (ขึ้นอยู่กับสภาพการเงินของแต่ละบุคคล) โดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายคงที่ หรือ Fixed Cost ต่อเดือนของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่ารถ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายประจำวัน เป็นต้น
4. จัดสรรหนี้สินเพื่อวางแผนการเงินให้ไปสู่เป้าหมาย
การจัดสรรหนี้สินเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการวางแผนการเงิน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการทบทวนหนี้สินต่างๆ ที่มีก่อนหน้านี้ สิ่งที่ควรทำคือเคลียร์หนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบต่างๆ ด้วยการชำระอย่างสม่ำเสมอ จัดสรรค่าใช้จ่ายให้เพียงพอต่อการชำระหนี้เก่า ควบคู่ไปกับการจัดลำดับเร่งด่วนของหนี้สินต่างๆ อย่างเป็นระเบียบเพื่อให้สภาพการเงินคล่องตัวมากขึ้น
5. วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณในอนาคต
เมื่อมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบระเบียบแล้ว การสร้างความมั่นคงและรากฐานที่ดีให้กับชีวิตในอนาคตคือสิ่งสำคัญถัดมาที่ควรทำ โดยการทบทวนแผนการลงทุนเพื่ออนาคตและวางแผนการเกษียณไว้เพื่อรับรองความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นการสร้างแผ่นรองกันล้มเมื่อมีเหตุฉุกเฉินการเงินที่ต้องล้มลง จะได้เป็นการล้มลงบนฟูกนุ่มๆ ที่รองรับไว้ได้อย่างสบายใจ ด้วยการวางแผนการลงทุนใน การลงทุนตราสารหนี้ การลงทุนในพันธบัตร การลงทุนในหุ้น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในของมีค่า เป็นต้น
6. ศึกษาแนวทางการหารายได้เสริมเพื่อแผนการเงินที่มั่นคง
การสร้างรายได้เสริมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างความมั่นคงให้แผนการเงินได้เร็วยิ่งขึ้น โดยการมองหาโอกาสสร้างอาชีพเสริมด้วยความสามารถที่คุณมีหรืองานอดิเรกที่คุณสนใจ ซึ่งปัจจุบันสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ช่องทางออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย ในการริเริ่ม เช่น ขายอาหาร รับเขียนบทความ ขายของมือสอง เป็นต้น
ตัวอย่างผลงานฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจ
คุณ Poonpak
พูนภักดิ์ เตชะเลิศไพศาล (ภูเขา) ปัจจุบันทำงานเป็นวิทยากรและนักวางแผนการเงินคุณวุฒิ CFP ให้บริการในเรื่องการวางแผนการเงินแบบองค์รวม ครอบคลุมเรื่อง การลงทุน การลดหย่อนภาษี และการป้องกันความเสี่ยง
คุณ Tanat
ธนัสม์ สุกใส(แบงค์) – ปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(เกียรตินิยมอันดับ2) Full time Financial Advisor 2559 ปัจจุบันที่ปรึกษาการเงินคุณวุฒิ FChFP ระดับ Distinction ผู้เชี่ยวชาญด้านการแผนการเงินครบวงจร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ และ Risk management
คุณ มงคล
วางแผนการเงินส่วนบุคคล ครอบครัว ทั้งในด้านของการวางแผนภาษี การวางแผนทุนการศึกษา การวางแผนการเกษียณอายุ และการวางแผนมรดก รวมถึงออกแบบกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทางด้านการเงินในอนาคต โดยนักวิเคราะห์การเงิน และวางแผนการลงทุนมืออาชีพที่ได้รับใบอนุญาต “วางแผนการลงทุน” หรือ Investment Planner : IP จากสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กันได้ง่ายๆ และแน่นอนว่ายิ่งทำได้เร็วมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าคุณวางแผนการเงินเพื่ออนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่สำหรับใครที่ต้องการปรึกษานักวางแผนการเงินเพื่อเจาะลึกในด้านต่างๆ อย่างจริงจัง Fastwork เรามีบริการจากฟรีแลนซ์มืออาชีพให้คุณได้ขอคำแนะนำได้อย่างเหมาะสม ด้วยราคาที่เป็นมิตรและมั่นใจได้ด้วยใบรับรองวิชาชีพด้านการเงินโดยตรง