สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจที่ตนเองวาดฝัน รู้หรือไม่ว่านอกจากการตั้งบริษัทหรือกิจการให้สำเร็จ การบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ไปรอดด้วยสภาวะปัจจุบันแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือการทำบัญชีธุรกิจหลังจากดำเนินกิจการนั่นเอง ซึ่งทุกวันนี้ก็มีเจ้าของธุรกิจและผู้เริ่มต้นมากมายที่มองข้ามการทำบัญชี หรือผัดไปเป็นเรื่องรองลงมาหลังจากดำเนินกิจการไปได้สักระยะแล้ว แต่ความจริง การทำบัญชีกับการดำเนินกิจการนั้นควรเป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันไปตั้งแต่แรกเริ่มเลยทีเดียว
ความสำคัญของการทำบัญชี
การทำบัญชี ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันนั่นเอง ซึ่งใครหลายคนก็อาจจะมองว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก วุ่นวาย และซับซ้อน จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางในด้านการทำบัญชี จึงจะสามารถทำบัญชีออกมาได้ แต่ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จริงเลย เพราะการทำบัญชีธุรกิจก็แทบจะไม่แตกต่างจากการทำบันทึกธรรมดา ๆ ทั่วไป ว่ามีใครซื้ออะไร ราคาเท่าไร ได้กำไรแค่ไหน ขอแค่คุณจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอและละเอียดใส่ใจ ก็สามารถทำบัญชีธุรกิจให้ตนเองได้แล้ว
การทำบัญชี เป็นเรื่องที่สำคัญมากถึงมากที่สุด เพราะบัญชีธุรกิจนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่าสถานะของธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร มีรายรับรายจ่ายต่อวัน ต่อเดือน และต่อปีเท่าไร ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถยื่นเสียภาษีกับสรรพากรได้แล้ว ยังทำให้คุณรู้ได้อีกด้วยว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจคุณเป็นอย่างไร มีรายรับรายจ่ายจากสิ่งใดบ้าง คำนวณได้ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณมีกำไรหรือขาดทุนไปเท่าไร ไปจนถึงสัมพันธ์กับการนับยอดสต็อค (stock) และสามารถวางแผนธุรกิจเผื่อถึงอนาคตได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
สำหรับใครที่ยังเป็นมือใหม่เพิ่งเคยประกอบกิจการ SMEs หรือว่ามีแผนกำลังจะเปิดกิจการของตัวเอง แล้วอยากที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีอย่างง่าย ทางเราก็ได้รวบรวมเทคนิคง่าย ๆ เกี่ยวกับการทำบัญชีธุรกิจมาให้กับคุณแล้ว
รวมเทคนิคการทำบัญชี สำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจ
1. แยกบัญชีบริษัทและบัญชีส่วนตัวออกจากกัน
เทคนิคลำดับแรกในการทำบัญชีเลย นั่นก็คือคุณต้องแยกบัญชีของบริษัทและบัญชีส่วนตัวออกจากกัน เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการทำรายรับรายจ่าย สะดวกต่อการตรวจสอบย้อนหลัง อีกทั้งยังสามารถลดความสับสนและการเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินส่วนตัวของคุณได้อีกด้วย
หรือสำหรับผู้ที่ต้องการนักลงทุน หรือมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารอยู่บ่อยครั้ง ก็แนะนำให้ทำบัญชีการเงินเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งบัญชี เพื่อให้ทางนักลงทุนหรือธนาคารสามารถดูการหมุนเวียนของบัญชีได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังมีผลเป็นอย่างมากต่อการพิจารณาเพื่อลงทุนหรือสินเชื่อด้วย
2. ศึกษาการจัดการเงินเดือนพนักงานให้ดี
โดยพื้นฐานแล้ว จะใช้งบประมาน 70% ของงบประมานบริษัททั้งหมด เพื่อให้เป็นเงินเดือนของพนักงาน สำหรับใครที่กำลังคิดหรือพิจารณาอยู่ว่าควรมีพนักงานในร้านมากน้อยแค่ไหน เงินเดือนเท่าไรถึงจะสมเหตุสมผล ก็ให้เริ่มต้นที่งบประมาน 70% นี้ว่าเพียงพอต่อพนักงานจำนวนกี่คน และสามารถให้เงินเดือนเริ่มต้นเท่าไร นอกจากนี้แล้ว คุณในฐานะนายจ้างและเจ้าของธุรกิจ ก็จำเป็นต้องศึกษาถึงค่าตอบแทนพนักงานให้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็น OT (ทำงานล่วงเวลา) สวัสดิการ หรืออื่น ๆ เกี่ยวกับพนักงาน เพราะจะถือว่าเป็นรายจ่ายของบริษัทในทุก ๆ เดือน
3. เริ่มต้นจัดระเบียบข้อมูลค่าใช้จ่ายของบริษัท
ถึงจะบอกว่ากว่า 70% ของงบประมานบริษัทคือเงินเดือนของพนักงานของคุณแล้ว แต่บริษัทก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกมากมาย ดังนั้นในการทำบัญชี คุณจึงควรที่จะแยกประเภทของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกมาให้ชัดเจน เช่น จัดหมวดหมู่ว่าเงินส่วนนี้คือเงินเดือนตายตัวของพนักงาน เงินส่วนนี้คือเงินที่สามารถยืดหยุ่นได้เพื่อรองรับเหตุไม่คาดฝันในบริษัท เป็นต้น
4. คำนวณเรื่องภาษีอย่างรอบคอบ
ในเรื่องของภาษีก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจเล็กน้อยหรือมากมายขนาดไหน ก็จำเป็นต้องภาษีอย่างเท่าเทียม ซึ่งภาษีของการนิติบุคคล ก็จะมีความแตกต่างภาษีบุคคล ดังนั้นแล้วในการทำบัญชีคุณจึงต้องศึกษาเรื่องภาษีต่าง ๆ ให้ละเอียดรอบคอบ รวมไปจนถึงการลดหย่อนภาษีที่คุณควรได้ด้วย
แต่ถ้าหากเรื่องของภาษีนิติบุคคลนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก หรือรู้ตัวดีว่าไม่ใช่คนที่จัดการทุกอย่างได้ถูกต้องแม่นยำเสมอไป ทางเราก็ขอแนะนำให้คุณจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ ซึ่งโดยปกติการจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาดูแลเรื่องภาษีก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการเปิดเผยข้อมูลธุรกิจกับบุคคลภายนอกเลย เพราะในกรณีนี้การจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล จะทำให้คุณมีส่วนได้มากกว่าส่วนเสีย
5. เรียนรู้การจัดการบัญชีก่อนลงมือทำ
นอกเหนือจากเทคนิคข้างต้นที่เราได้แนะนำคุณแล้ว การทำบัญชีก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่ถึงแม้จะง่ายแต่ก็มีความยากด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากจะขอแนะนำให้คุณลองฝึกทำบัญชีเพื่อให้ตัวเองคุ้นชิน และเรียนรู้ภาษาบัญชีต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ลดความผิดพลาดจากการเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่นคำว่า สินทรัพย์ หนี้สิน เครดิต เกณฑ์คงค้าง เกรฑ์เงินสด รอบบัญชี เป็นต้น
ตัวอย่างฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจ
คุณ Chitanan
นักบัญชีดีกรีปริญญาโทจากอังกฤษ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านการทำบัญชี ปิดงบการเงิน วางระบบบัญชี วิเคราะห์งบ และวางแผนภาษี พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษีกับคุณได้อีกด้วย
คุณ Thanakorn
รับทำและยื่นบัญชีเพื่อกู้สินเชื่อจากธนาคาร รวมไปถึงภาษี และช่วยด้านการวางแผนธุรกิจอย่างครบวงจรได้ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีรายรับรายจ่ายย้อนหลัง การทำการตลาด วางแผนภาษี วางระบบบัญชี จดทะเบียนบริษัท และอื่น ๆ อีกมากมาย
คุณ ปริญดา
มืออาชีพผู้มีประสบการณ์ในการทำบัญชีและปิดบัญชีมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี เคยผ่านมาหมดไม่ว่าจะเป็นธุรกิจระดับใหญ่ ระดับกลาง หรือว่าจะดับ SMEs ทั้งบริษัทไทยและต่างชาติ
สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือว่ากำลังจะเปิดกิจการของตนเอง ซึ่งอ่านบทความนี้แล้วเล็งเห็นแล้วว่าตนเองอาจจะไม่ถนัดด้านการทำบัญชี ไม่ถนัดด้านการคำนวณ หรือว่าต้องการนำเวลาไปใช้เพื่อบริหารดำเนินกิจการให้เต็มที่มากกว่า ทางเราก็ขอแนะนำให้คุณลองใช้บริการมืออาชีพจาก Fastwork เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือทางด้านบัญชีโดยเฉพาะ การันตีประสบการณ์ภายใต้ราคาที่คุ้มค่า