ในการทำธุรกิจ หรือกิจการอะไรสักหนึ่งอย่าง ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ จะขายได้หรือไม่ มีลูกค้าใช้บริการมากน้อยแค่ไหนส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนึ่งตัวช่วยในการเพิ่มความน่าเชื่อถือ นั่นก็คือ การจดทะเบียนการค้า ไปดูกันว่า จดทะเบียนการค้าคืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง?
จดทะเบียนการค้า คืออะไร?
การจดทะเบียนการค้า หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า การจดทะเบียนพานิชย์ เป็นการการจดทะเบียนเพื่อแสดงถึงการประกอบธุรกิจ โดยจะต้องทำการจดทะเบียนการค้าภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ
การจดทะเบียนการค้า มีกี่ประเภท
ในการจดทะเบียนการค้า จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- การจดทะเบียนการค้า สำหรับบุคคลธรรมดา
- การจดทะเบียนการค้า สำหรับนิติบุคคล
ทำไม ถึงต้องจดทะเบียนการค้า สำคัญอย่างไร?
การจดทะเบียนการค้า ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ บ่งบอกถึงความมีตัวตน ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการซื้อขาย หากเกิดข้อผิดพลาดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน เกิดการชำรุด ลูกค้าสามารถติดต่อเพื่อขอเปลี่ยนสินค้าหรือคืนเงินได้ตามเงื่อนไข การจดทะเบียนการค้ายังช่วยให้สามารถขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังเป็นฐานข้อมูลสถิติของประเทศด้วย
ใครบ้างที่จะต้องจดทะเบียนการค้า?
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนการค้า มีดังนี้
- บุคคลธรรมดา หรือผู้ประกอบการคนเดียว
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด และบริษัทที่เป็นมหาชนจำกัด
- บริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิด หรือมีการขยายสาขาภายในประเทศไทย
หากถามว่ามีธุรกิจอะไรบ้างที่จะต้องจดทะเบียนการค้า คงตอบได้ไม่หมด ดังนั้น ไปดูว่ามีธุรกิจอะไรบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการค้าน่าจะง่ายกว่า
ธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้ามีอะไรบ้าง?
มาดูธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้ากันบ้าง โดยธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการค้า มีดังนี้
- ธุรกิจ พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนา หรือเพื่อการกุศล
- ธุรกิจ พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
- ธุรกิจ พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
- ธุรกิจ พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
- ธุรกิจ พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141
- ธุรกิจที่เป็นหาบเร่ การค้าแผงลอย
ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า มีอะไรบ้าง?
การยื่นขอจดทะเบียนการค้าสามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอนดังนี้
- เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม
- ยื่นขอจดทะเบียนการค้า
- เสียค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนการค้า ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
สำหรับการจดทะเบียนการค้า หรือจดทะเบียนพานิชย์ จะต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- แบบคำร้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
- สำเนาบัตรประจำตัว หรือ หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้ขอจดทะเบียน และหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นจดทะเบียนให้)
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
- กรณีไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องมี
(1) หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
(2) สำเนาสัญญาเช่า
- แผนที่แสดงสถานที่ตั้ง ที่ใช้ประกอบพาณิชย์และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง โดยสังเขป
ขอจดทะเบียนการค้า ได้ที่ไหนบ้าง?
พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
สามารถขอยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือสำนักงานเขตที่ตั้งของธุรกิจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
- ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกพื้นที่
- เว็บไซต์ bangkok.go.th/finance
พื้นที่ในเขตต่างจังหวัด
สามารถขอยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่ เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลที่ตั้งของธุรกิจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ส่วนกำกับดูแลการจดทะเบียนพาณิชย์และภูมิภาค โทร. 0-2547-4446-7
- สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด
หรือสามารถยื่นขอจดทะเบียนการค้าผ่านทางออนไลน์ได้ที่ www.dbd.go.th สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
จดทะเบียนการค้า มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่?
การยื่นขอจดทะเบียนการค้า ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการค้า 50 บาท ต่อทุนจดทะเบียน 100,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 500 บาท และไม่เกิน 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการในการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน 20 บาท ต่อครั้ง
- ค่าธรรมเนียมการขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง 20 บาท ต่อครั้ง
- ค่าธรรมเนียมการขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ 30 บาท ต่อฉบับ
- ค่าธรรมเนียมการขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 30 บาท ต่อฉบับ (หนึ่งคำคิดเป็นหนึ่งฉบับ)
จดทะเบียนการค้า ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่?
ในการยื่นขอจดทะเบียนการค้า หากเตรียมเอกสารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จะใช้ระยะเวลา 2 วันโดยประมาณ
- การจองชื่อและยื่นตรวจสอบเอกสารผ่านทางออนไลน์ ใช้เวลา 1 วันโดยประมาณ
- นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารและยื่นขอจดทะเบียนการค้า ใช้เวลา 1 วันโดยประมาณ
เมื่อการจดทะเบียนการค้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนมอบหลักฐานในการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในรูปแบบของหนังสือรับรองบริษัทสำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนการค้า แนะนำให้รีบดำเนินการ เพราะนอกจากจะเป็นหลักฐานสำคัญทางการค้า ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือแล้ว ยังมีความผิดทางกฎหมายอีกด้วยหากไม่ทำการจดทะเบียนการค้า ซึ่งโทษไม่ใช่เล่นๆ เลยทีเดียว แต่สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจคนไหนที่รู้สึกว่าการจดทะเบียนการค้าเป็นเรื่องยุ่งยาก เอกสารเยอะ แนะนำให้ใช้บริการผู้เชี่ยวชาญที่รับจดทะเบียนการค้าโดยเฉพาะ สามารถเข้าไปเลือกใช้บริการได้ที่ Fastwork.co เท่านี้การจดทะเบียนการค้าก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที
[เลือก Freelance จากหมวด https://fastwork.co/commercial-registration]