ทุกวันนี้ที่การเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าอะไรก็สามารถทำเป็นธุรกิจได้ ดังนั้นเมื่อใครหลายคนถึงจุดอิ่มตัวของการทำงาน ก็ต้องอยากที่จะออกมาทำธุรกิจของตัวเองกันหมด ถ้าหากเป็นผู้ที่ชื่นชอบกาแฟ หรือบรรยากาศคาเฟ่ ก็ต้องเปิดร้านกาแฟ ถ้าหากเป็นผู้ที่ชื่นชอบกินชาบู สุกี้ หมูกระทะ ก็ย่อมต้องออกมาเปิดร้านอาหารชาบู สุกี้ หมูกระทะ ถ้าหากเป็นผู้ที่ชื่นชอบการซื้อของออนไลน์ การมาเปิดร้านขายของออนไลน์ของตัวเองก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย แต่รู้หรือไม่ ว่านอกจากการรวบรวมทุน ตั้งทำเล และเปิดร้าน สิ่งที่สำคัญแต่ผู้ประกอบการ SME มักจะเผลอมองข้ามไป นั่นก็คือการจดทะเบียนบริษัท
การจดทะเบียนบริษัทคืออะไร
ในช่วงแรกของการเริ่มต้นกิจการ การจดทะเบียนบริษัทอาจเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนคิดว่าไม่จำเป็น เพราะการจดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องใช้เอกสารและค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง อีกทั้งกฎหมายก็กำหนดเอาไว้ว่าหากมีรายได้น้อยกว่า 150,000 ต่อปีก็จะได้รับการยกเว้นภาษี หากบริษัทหรือกิจการของคุณยังไม่มีเงินหมุนเวียนมากมาย ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนบริษัท แต่ใช้ชื่อในฐานะรายได้บุคคลธรรมดาก็ประกอบธุรกิจได้ แต่ถ้าหากบริษัทหรือกิจการของคุณเจริญเติบโตไปข้างหน้าเมื่อไร การจดทะเบียนบริษัทจะเป็นเรื่องสำคัญโดยทันที ตัวอย่างเช่น
-
- ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการของคุณได้
- ขยายธุรกิจและหาแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่า
- ลดหย่อนภาษีในบางกรณีได้
รวม 7 ข้อ คุณรู้จักสิ่งเหล่านี้หรือยัง ก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัท
จากหัวข้อข้างต้น คุณก็คงจะรู้กันแล้วว่าทำไมถึงควรจดทะเบียนบริษัทของตนเอง และสำหรับผู้ที่อยากจะเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัทแต่ไม่เคยมีประสบการณ์ หรือไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและภาษีต่าง ๆ ทางเราก็ได้รวบรวม 7 ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบริษัทมาให้คุณแล้ว
-
ชื่อบริษัทของคุณ
ก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัทนั้น คุณมีชื่อของบริษัทหรือกิจการในดวงใจหรือยัง ซึ่งชื่อในการจดทะเบียนนั้นไม่ได้เป็นเพียงชื่อทางการที่คนอื่นจะรู้จักคุณอย่างเดียว แต่ยังต้องตรวจสอบด้วยว่าชื่อบริษัทหรือกิจการของคุณเคยมีการตั้งชื่อนี้แล้วหรือเปล่า หากเกิดความซ้ำซ้อนในชื่อบริษัทอาจทำให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดตามมาในอนาคต
-
ความแตกต่างของการจดทะเบียนบริษัทแต่ละประเภท
การจดทะเบียนของบริษัท สามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลายประเภท ดังต่อไปนี้
-
-
การจดทะเบียนพาณิชย์ (บุคคล)
-
ซึ่งการจดทะเบียนประเภทนี้ มักจะเหมาะกับผู้ที่ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ ขายของบนเว็บไซต์ หรือกำลังเริ่มต้นจากกิจการขนาดเล็ก
-
-
การจดทะเบียนนิติบุคคล
-
ซึ่งการจดทะเบียนประเภทนี้ เหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการมีร่วมลงทุนหรือทำกิจการด้วยกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป และธุรกิจกำลังเติบโตในระดับหนึ่ง
-
เอกสารที่จำเป็นต่อการจดทะเบียน
เอกสารหลักที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัทนั้น มีทั้งหมดดังนี้
-
- หนังสือบริคณห์สนธิ (หนังสือแสดงเจตจำนงจัดตั้งบริษัท ไม่เกิน 30 วัน)
- ใบแจ้งผลจองชื่อนิติบุคคล
- แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นพร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาการประชุมจัดตั้งบริษัท
- สำเนาข้อบังคับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ถือหุ้นทุกคน
- จำนวนลงทุน (หุ้น) ที่ชำระแล้ว
- แผนที่และสถานที่ตั้งของสำนักงาน
-
ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ถือหุ้น
เนื่องจากการจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคลนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ร่วมจัดตั้งมากกว่า 2 คน ดังนั้นหากคุณต้องการจะจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ก็จำเป็นต้องหาผู้ร่วมลงทุน ที่พร้อมจะบริหารกิจการไปด้วยกันกับคุณเสียก่อน
-
ขั้นตอนในการจดทะเบียนบริษัท
เมื่อคุณทราบถึงเอกสารหลักฐานต่าง ๆ สิ่งต่อมาที่ควรรู้เลย นั่นก็คือขั้นตอนการจดทะเบียนนั่น โดยขั้นตอนในการจดทะเบียนนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย หากคุณเตรียมเอกสารมาพร้อมแล้ว ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็จะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารระยะหนึ่ง แต่ไม่เกิน 1 วัน หากขาดเหลืออะไร ผู้เป็นนายทะเบียนรับเรื่องจะแนะนำให้คุณเอง
-
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท
สำหรับใครที่ไม่เคยจดทะเบียนบริษัทมาก่อน แน่นอนว่าคงไม่รู้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเท่าไร ซึ่งทางเราก็ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายหลักในการจดทะเบียนมาให้ ดังนี้
-
- หนังสือรับรองการเป็นบริษัท ประมาณ 40 บาท
- ค่าใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ประมาณ 100 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 200 บาท
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ประมาณ 500 บาท
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด ประมาณ 5,000 บาท
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามระยะเวลาและค่าเงินปัจจุบัน
-
สิ่งที่ได้หลังจากจดทะเบียนบริษัท
สิ่งที่จะมาแนะนำให้คุณรู้เป็นอย่างสุดท้ายในบทความนี้ ก็คือสิ่งต่าง ๆ และประโยชน์ที่คุณจะได้เมื่อจดทะเบียนบริษัท ซึ่งก็สามารถสรุปได้ ดังนี้
-
- ทำให้บริษัทของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- ได้รับการยกเว้นภาษีมากกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- สามารถเข้าถึงสินเชื่อต่าง ๆ เพื่อนำไปหมุนเวียนกิจการได้ง่ายมากขึ้น
- ภาระหนี้สินของบริษัทจะถูกแยกออกจากชื่อเจ้าของกิจการ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้ หากอยากจะเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท แต่ถ้าคุณกำลังประเมินกิจการของตนเอง หรือว่ากำลังอยู่ในช่วงขยายกิจการ เรามีผู้ช่วยจากเว็บไซต์ Fastwork มานำเสนอให้คุณ ซึ่งก็ประกอบไปด้วยผู้ช่วยทางด้านธุรกิจ ผู้ช่วยทางด้านการบริหาร ผู้ช่วยด้านการจัดการบัญชี ผู้ช่วยด้านกฎหมายและภาษีธุรกิจ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย ตามแต่คุณต้องการ รับรองว่าคุณจะได้ทั้งผู้ช่วยและที่ปรึกษาที่ดีได้อย่างแน่นอน