วางแผนการเงินให้พร้อม ก่อนออกมาเป็น ‘ฟรีแลนซ์’ เต็มตัว l Money Buddy EP.01

[vc_row][vc_column][vc_column_text]ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชุมชนคนรักงานฟรีแลนซ์ยิ่งชีพ 

ถ้าคุณมีอาชีพเป็นฟรีแลนซ์ ผู้รักการทำงานที่แสนท้าทาย และอยากดีไซน์การทำงานให้ชีวิตตัวเองได้อย่างลงตัว ขอให้รีบมารวมตัวกันตรงนี้ด่วน 

สำหรับใครที่รู้ว่า ตัวเองมีความสามารถสูง มีทักษะการทำงานเก่งกาจแบบหาตัวจับได้ยาก จนมีงานจ้างวิ่งเข้ามาหาอย่างไม่ขาดสาย แต่ดันบริหารการเงินไม่ค่อยเก่ง รายรับที่ได้มาจำนวนมาก เลยไม่เคยพอใช้เอาเสียอย่างนั้น

ถ้าตอนนี้ ยังหาทางออกไม่เจอ ก็อย่าได้เคร่งเครียดหรือกังวลใจไป เพราะ Money Buddy พอดแคสต์รายการใหม่จาก Fast Work โดย โค้ชหนุ่ม – จักรพงษ์ เมษพันธุ์ จากเพจ The Money Coach จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติม พร้อมแชร์โอกาสด้านการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินให้แบบไม่มีกั๊ก แถมยังแบ่งปันประสบการณ์ด้านการเงินอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ให้ทุกคนกลายเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพ ที่มีความมั่นคงทั้งเรื่องงานและการเงิน เพื่อต่อยอดสู่อนาคตที่คุณวางแผนความฝันระยะยาวไว้ได้อย่างมีคุณภาพ[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]

EP. 1 ความมั่นคงทางการเงิน เรื่องที่รู้ไวก่อนกระโดดมาเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพ

[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]ทุกวันนี้งานอิสระ หรืออาชีพฟรีแลนซ์ กลายเป็นโลกการทำงานแห่งยุคสมัยไปแล้ว โดยเฉพาะความนิยมในหมู่คนเจเนอเรชันใหม่ๆ ที่อยากใช้ชีวิตนอกกรอบเดิม แต่หลายๆ คนก็ยังต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการเงินไม่ได้ เงินที่ได้มามาก แต่ก็ยังไม่พอใช้จ่าย แถมงานเข้ามาไม่สม่ำเสมอและไร้ทิศทาง ทำให้รายได้ขาดช่วง ไปจนถึงความรู้สึกเหงาที่ไม่มีเพื่อนคู่คิดคอยช่วยตัดสินใจ หรือวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

เชื่อว่าปัจจุบัน หลายคนมีงานประจำในองค์กรทำกันอยู่แล้ว แต่บางคนก็ขอควบการทำงานสองขา ด้วยการหางานฟรีแลนซ์ทำคู่ไปด้วย จะได้สร้างรายได้เสริมเพิ่มเติม ในบางกรณี เมื่อรายได้จากงานนอกเริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะมีบางคนเริ่มคิดว่า แล้วจะไปทำงานประจำแบบเต็มวันให้เหนื่อยเปล่าไปทำไมกันล่ะ ออกมาลุยงานเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวซะให้รู้แล้วรู้รอดไปดีกว่า

ถ้างั้นจะลาออก หรือไม่ลาออกดี? ก่อนจะคิดถึงประเด็นนี้ ขอให้กลับไปคิดเรื่องการวางแผนการเงินให้ชัวร์ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจะเริ่มวางแผนยังไงให้ดีพร้อมกันล่ะ? สำหรับเรื่องนี้ โค้ชหนุ่มฝากไว้ให้คิด 3 ข้อ ถ้าลองไล่เช็กลิสต์ดู แล้วมีองค์ประกอบเหล่านี้ครบถ้วน แสดงว่า คุณพร้อมรับบทเป็นฟรีแลนซ์หัวใจเกินร้อยได้ทันที[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]หนึ่ง ชัวร์เรื่องรายได้ที่มีเพียงพอ ก่อนกระโดดมาเป็นชาวฟรีเลนซ์[/vc_column_text][vc_column_text]ไม่ควรด่วนตัดสินใจลาออกจากงานประจำทันที เพราะต้องมั่นใจด้วยว่า งานอิสระที่เรารับจ้างทำเป็นอาชีพเสริม มีจำนวนรายได้ที่มากกว่าหรือเท่ากับงานประจำของเราแล้ว  [/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]สอง งานฟรีแลนซ์ที่รับทำต้องมั่นคงและมีเข้ามาไม่ขาดสาย [/vc_column_text][vc_column_text]งานที่เรารับมาทำ ต้องมีป้อนเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่มาเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป หรือขาดตอนเดี๋ยวมา เดี๋ยวหาย แต่ต้องชัวร์ว่า มีงานให้เราทำได้อย่างเต็มที่ เพราะนั่นหมายถึงรายได้ที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]สาม เตรียมฐานลูกค้าในมือให้หลากหลายและเพียงพอ[/vc_column_text][vc_column_text]เพราะฟรีแลนซ์มืออาชีพ ไม่ควรทำงานเพียงงานเดียว ดังนั้นต้องระมัดระวังประเด็นนี้ให้มากๆ หนทางในการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ ก็คือการสร้างฐานลูกค้าในมือให้มีจำนวนมากเพียงพอ ด้วยการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้ตัวเองด้วยการผลิตชิ้นงานคุณภาพ เพื่อให้มีฐานลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย [/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]

เคล็ดลับเรื่องเงินๆ ทองๆ เพื่อการเป็นฟรีแลนช์มือโปร

[/vc_column_text][vc_column_text]ต้องประเมินรายรับและรายจ่ายให้เป๊ะ[/vc_column_text][vc_column_text]เริ่มจากการดูเรื่องรายรับและรายจ่ายให้แน่นอน อาจจะประเมินรายจ่ายของตัวเองให้ดีก่อนก้ได้ เพื่อมากันเงินก้อนไว้เผื่อใช้ชีวิตเดือนต่อๆ ไปด้วย ส่วนถ้ามีภาระหนี้สินก็ต้องปรับงวดของสินเชื่อให้เบาบางลง ให้สามารถผ่อนจ่ายได้จริง หรือในกรณีของการผ่อนอสังหาริมทรัพย์ ถ้าใครไม่เคยรีไฟแนนซ์ก็ต้องจัดการในส่วนนี้เพื่อให้ยอดการผ่อนจ่ายต่ำลง เพื่อให้เราบริหารการเงินได้คล่องตัว อ๋อ ถ้ามียอดหนี้บัตรเครดิต ก็ต้องเคลียร์ให้หมดด้วยนะ[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]ต้องมีเงินหมุนเวียนไม่ขาดมือ[/vc_column_text][vc_column_text]วงเงินหมุนเวียนเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ สำหรับตำแหน่งฟรีแลนซ์มือโปร เราควรต้องเตรียมสินเชื่อไว้ล่วงหน้า เช่น การทำบัตรเครดิต ควรแยกบัตรไว้จำนวน 2 ใบ หนึ่งใบสำหรับกินและใช้ มีวงเงินสดพร้อมต่อการอุปโภคบริโภคเสมอ ส่วนอีกใบมีไว้เพื่อหมุนเวียนเงินในการดำเนินกิจการให้คล่องตัว ไม่ติดขัด เผื่อไว้ในกรณีที่ต้องมีการสำรองจ่ายเงินให้ลูกค้าล่วงหน้า อย่างเช่น การออกค่าบูสต์โฆษณาให้ลูกค้าก่อน เป็นต้น [/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]เงินออมต้องมีสำรองถึงหกเดือนรวด[/vc_column_text][vc_column_text]ส่วนนี้ให้นำค่าใช้จ่ายประจำเดือนของคุณมาคูณหก ถ้ามีเพียงพอสำหรับหกเดือนเมื่อไหร่ เราจะเป็นฟรีแลนซ์ที่ไม่อดตาย มีเผื่อขาดไว้ให้อยู่ได้ ถ้าเป็นไปได้ควรมีเงินสำรองสองก้อน ก้อนแรกเผื่อใช้จ่ายเมื่อรายได้ขาดมือ อีกก้อนมีไว้หมุนเวียนในส่วนบริหารงานฟรีแลนซ์ของตัวเราเอง เช่น ในกรณีจ่ายค่าวัตถุดิบทำงานล่วงหน้าให้ลูกค้า หรือมีเงินส่วนนี้สำรองไว้ เผื่อกรณีการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ล่าช้า ดังนั้นงบส่วนตัวของเราต้องคัฟเวอร์ทุกความกังวลด้านการใช้ชีวิตทุกมิติ เพื่อความปลอดภัยไม่ต้องอดตายในวันต่อๆ ไป[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]ทำงานหนัก ต้องมีประกันสุขภาพให้ตัวเอง[/vc_column_text][vc_column_text]ลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์แล้วนั่นหมายความว่า เราจะไม่มีประกันและสวัสดิการต่างๆ จากระบบบริษัทอีกต่อไป ดังนั้นฟรีแลนซ์ที่ดีจะต้องไม่ป่วยตาย เราจึงควรมีประกันสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพให้ตัวเองสักนิด แค่นี้ก็จะสบายใจไปได้อีกเปราะแล้ว

ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้เราพอมองเห็นภาพกันแล้วว่า เป็นฟรีแลนซ์ก็รวยเละได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องวางแผนความมั่นคงให้ครบวงจร ฉะนั้นเรื่องการเงินจึงสำคัญมาก ห้ามสะดุดล้ม เพื่ออนาคตทางการเงินที่สดใสยังไงล่ะ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

ฟรีแลนซ์ในหมวด เทคนิคน่ารู้สำหรับฟรีแลนซ์

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.