[vc_row][vc_column][vc_column_text]
สัญญาจ้างทำของ วิชากฎหมาย 101 ที่ชาวฟรีแลนซ์ต้องรู้ก่อนรับงาน
[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
ชาวฟรีแลนซ์และนักรับทำฝิ่นทั้งหลายน่าจะรู้ดีกันอยู่แล้วว่า อาชีพฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่ท้าทายไม่แพ้อาชีพไหนๆ ในโลก แม้พวกเราจะได้คัดเลือก และจัดสรรงานต่างๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเองอย่างเป็นอิสระมากประมาณหนึ่งก็จริง แต่ก็มีรายละเอียดเรื่องของสิทธิและข้อกฎหมายที่มนุษย์ฟรีแลนซ์อย่างเราๆ ควรรู้ไว้ให้ดีและถี่ถ้วนด้วย เพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่นไร้ข้อกังวลใจในภายหลัง เพราะว่ากันตามตรง การว่าจ้างงานก็มีเรื่องสิทธิทางกฎหมายเข้ามาเอี่ยวด้วยแบบเน้นๆ อย่างปัญหาคลาสสิกที่โดนกันบ่อยๆ เช่น การโดนเบี้ยวค่าจ้างงาน หรือการถูกละเมิดข้อตกลงอื่นๆ (ไหนใครมีประสบการณ์แบบนี้บ้าง ยกมือขึ้น) ซึ่งบางทีนำไปสู่การฟ้องร้อง และการทะเลาะเบาะแว้งได้ง่ายๆ[/vc_column_text][vc_column_text]
แล้วถ้าเกิดปัญหาระหว่างคนจ้างและคนทำงาน เราจะแก้ปัญหา เรียกร้อง หรือดำเนินคดียังไงดีนะ [/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]
1.คำนึงถึงข้อกฎหมายการว่าจ้าง ก่อนตกลงรับงานฟรีแลนซ์ทุกชิ้น [/vc_column_text][vc_column_text]
นอกจากชาวฟรีแลนซ์จะต้องทำงานให้ดีตามบรีฟ เรื่องข้อกฎหมายว่าจ้างต่างๆ ก็สำคัญมากๆ ฉะนั้น ต่อไปนี้นอกจากการเคาะไอเดียแล้วมาลงมือทำงานให้ตรงใจและถูกต้องตามมาตรฐานของลูกค้าแล้ว เราก็ต้องคำนึงถึงสัญญาและกฎหมายของการจ้างให้ครบถ้วน ก่อนจะตกลงทำงานร่วมกัน อยากจะบอกว่า เรื่องกฎหมายไม่ได้น่าปวดหัวอย่างที่คิด แถมจำเป็นกับงานอิสระทุกชิ้นที่เรารับมาด้วยนะ ถ้าอย่างนั้น มีข้อกฎหมายอะไรที่ระบุเกี่ยวกับงานฟรีแลนซ์ไว้บ้างนะ[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
2.ต้องรู้ไว้ว่า กฎหมายสำหรับงานฟรีแลนซ์ เน้นที่การว่าจ้างเพื่อได้ผลลัพธ์ของงาน[/vc_column_text][vc_column_text]
สำหรับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นฟรีแลนซ์ในไทย ระบุอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในหมวดที่เรียกว่า สัญญาจ้างทำของ สรุปแบบย่อๆ ให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือสัญญารูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งผลสำเร็จของงานเป็นหลัก โดยมีคนมาจ้างให้เราทำงาน ดังนั้นเราเป็นแค่ผู้รับจ้างทางกฎหมาย ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จก็ส่งมอบงานกันไป และสุดท้ายก็ต้องได้เงินตอบแทน เช่น งานกราฟิกดีไซน์ งานช่างภาพ งานเขียน หรืองานทำเพลง เป็นต้น[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
3.หน้าของฟรีแลนซ์คือคนรับจ้าง ไม่ใช่ลูกน้องใคร[/vc_column_text][vc_column_text]
พอได้งานมาทำแล้ว ให้เรานึกไว้เสมอว่า จากข้อกฎหมายสัญญาจ้างทำของ ในรายละเอียดนั้น เรามีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ในรูปแบบสถานะของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง เป็นแค่การมอบหมายงานให้ทำให้เสร็จ และรอรับชิ้นงานตามตกลงก็เป็นอันจบครบเสร็จขั้นตอน ดังนั้นในมุมของผู้ว่าจ้างงานชิ้นหนึ่งหนึ่ง ไม่สามารถไปสั่งนู้นนี่นั่นระหว่างทางได้ตามใจชอบ อย่างการโทรจิกทั้งวันก็เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้นะ [/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]
ถึงแม้สิทธิตามกฎหมายของสัญญาจ้างทำของ อาจดูคล้ายกับรูปแบบนายจ้างและลูกน้องในบริษัทหรือองค์กร แต่สำหรับงานฟรีแลนซ์นั้น ชาวฟรีแลนซ์เราแตกต่างจากลูกจ้างในแง่สถานะ ไม่ได้มีความผูกพันธ์กันแบบเจ้านายลูกน้อง เพราะงั้น ถ้ามีคำสั่งตะหงิดๆ หรือดูไม่เป็นธรรม เรามีสิทธิปฏิเสธและยืนยันหลักการนี้ได้เลย ขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างงานก็ต้องเข้าใจในจุดนี้ด้วยเหมือนกัน [/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]
รู้อย่างนี้แล้ว ต่อไปจะรับงานแบบไหนมาก็ตาม ในฐานะฟรีแลนซ์ตัวยง อย่าลืมว่าเรามีสิทธิ์มีเสียงตามกฎหมาย นอกจากเสิร์ฟงานคุณภาพให้คนจ้าง ระหว่างทางเราก็ต้องรู้เท่าทันกฎหมายเหล่านี้ด้วย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]