[vc_row][vc_column][vc_column_text]
กฎหมายอนุญาตให้นายจ้างตามงานฟรีแลนซ์ได้ แล้วเรารักษาสิทธิตัวเองได้แค่ไหน
[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
เป็นฟรีแลนซ์มันเหนื่อย นอกจากจะต้องทำผลงานให้ออกมาดีเยี่ยม เรายังต้องคอยดีลกับผู้ว่าจ้างงานให้ราบรื่นและลงตัวเสมอด้วย [/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกที่ชาวฟรีแลนซ์หลายๆ คนต้องเผชิญก็คือ การถูกนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างตามจิก ตามทวงงานยิกๆ ตั้งแต่เช้า กลางวัน จนตกเย็น ตามได้ตามดีตามทั้งวัน จนเราก็เหนื่อย ถ้าเกิดเจอสถานการณ์แบบนี้เข้า เราจะทำยังไงกันดีนะ ในทางกฎหมายนายจ้างควรมีขอบเขตที่จะติดตามการทำงานของเรามากหรือน้อยแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าพอดี[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]
กฎหมายอนุญาตให้คนจ้างตามงานได้ตลอดเวลา[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
อาจฟังดูโหดร้าย แต่ว่ากันตามตรง ถ้าอิงตามข้อกฎหมายแล้ว การติดตามงานของผู้ว่าจ้างฟรีแลนซ์ ที่จะมาตามงานผู้ถูกว่าจ้างนั้น เราต้องยอมรับว่า ผู้เป็นฟรีแลนซ์ค่อนข้างเสียเปรียบ เพราะกฎหมายระบุให้เราต้องยอมรับการตรวจตรางานได้ตลอดเวลา ถ้าดูที่มาตรา 592 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเห็นตัวประมวลกฎหมายบอกเอาไว้อย่างชัดเจนเลยว่า มีการให้สิทธิผู้ว่าจ้างตรวจตามงาน สมมติว่าจ้างงานตอนเช้า จะขอมาตามงานตอนบ่ายก็เป็นสิทธิที่เขาพึงทำได้ และชาวฟรีแลนซ์ก็ปฏิเสธไม่ได้เสียด้วย ฉะนั้นต้องพึงระลึกไว้ว่าให้ตรวจได้ แต่เป็นการตรวจว่า ทำงานตรงตามบรีฟหรือแบบที่ตกลงกันไว้หรือไม่เท่านั้น ไม่สามารถสั่งการเบ็ดเสร็จได้แบบเจ้านายกับลูกน้องในองค์กร[/vc_column_text][vc_empty_space height=”15px”][vc_column_text]
ปัญหาแก้ได้ด้วยการตกลงเวลาติดตามงานให้ชัดเจน[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
ถ้ากังวลว่าจะถูกตามงานจนเสียสมาธิ ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเรามี Trick เล็กๆ น้อยๆ มาให้ ทั้งนี้เริ่มได้ตั้งแต่ขั้นตอนการตกลงก่อนการจ้างงาน ชาวฟรีแลนซ์สามารถบอกเวลาทำงานในแต่ละวันได้ และตกลงช่วงเวลาติดต่อได้อย่างชัดเจน เช่น ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น ในช่วงเวลาทำงานที่เริ่มต้น 9 โมงเช้า และสิ้นสุดที่ 4 โมงเย็น เป็นต้น เพื่อเป็นข้อตกลงและขอบเขตเบื้องต้นของทั้งสองฝ่าย ให้เจรจากันได้อย่างลงตัว หรือถ้ามีเหตุธุระจำเป็นขึ้นมา แล้วลูกค้าขอตรวจงาน ให้เราบอกตรงๆ ไปเลยว่ามีธุระหรือเหตุจำเป็นแบบไหนที่เขาควรรับรู้และเข้าใจ จนทำให้ไม่สามารถตรวจงานได้ทันทีตามที่ขอทุกครั้ง[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
แต่ถ้ามีเหตุจำเป็น ยังตกลงกันไม่ได้ และผู้ว่าจ้างยืนยันว่าจะฟ้องในเรื่องการทำงานล่าช้า เราก็มีสิทธิต่อสู้ในชั้นศาลได้เช่นกัน [/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][vc_column_text]
แม้เรื่องติดตามงานจะทำให้ฟรีแลนซ์ต้องยอมโอนอ่อนตามผู้ว่าจ้าง แต่ถ้าเรารู้จักข้อกฎหมายการตรวจตรางาน และมีเทคนิควิธีการตกลงขอบเขตให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนลงมือทำงาน ก็จะช่วยลดปัญหาการผิดใจกัน ระหว่างผู้ว่าจ้างและฟรีแลนซ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่น้อยเลยทีเดียว[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]