ข้อมูลได้กลายมาเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสำหรับธุรกิจในยุคดิจิตอล การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำให้บริษัทได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า, เทรนด์ของตลาด และประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายธุรกิจที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวการทำความเข้าใจในการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาคุณไปค้นหาตัวอย่างของเทคนิคการเก็บข้อมูลที่สามารถนำเอาไปใช้ได้จริงที่จะทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลรอบด้าน และก่อให้เกิดผลสำเร็จ
1.สำรวจออนไลน์และแบบสอบถาม
การสำรวจออนไลน์และแบบสอบถาม (Online Surveys and Questionnaires) เป็นเครื่องมือที่มีพลังสำหรับการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า โดยการออกแบบการเก็บข้อมูลที่ดี และแจกจ่ายแบบฟอร์มผ่านทางอีเมล์, โซเชียลมีเดีย หรือกล่องข้อความป๊อปอัพบนเว็บไซต์ จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับความชื่นชอบของลูกค้า, ระดับความพึงพอใจ และเสียงสะท้อน การวิเคราะห์การตอบกลับสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์, กลยุทธ์การตลาด และการปรับปรุงการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น
2.วิเคราะห์เว็บไซต์
การวิเคราะห์เว็บไซต์ (Website Analytics) สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวพฤติกรรมของผู้ใช้งานและสมรรถนะของเว็บไซต์ โดยการนำเครื่องมืออย่าง Google Analytics มาใช้ ธุรกิจจะสามารถติดตามตัวชี้วัด เช่น การเข้าถึงเว็บไซต์, การรับชมหน้าเพจ, Bounce rate (อัตราของผู้ใช้ที่คลิกเข้ามาในหน้าเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวและกดปิดโดยไม่มีส่วนร่วมใดๆ), และอัตราการมีบทสนทนา ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (User engagement), คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยม และพื้นที่ในการปรับปรุง การทำความเข้าใจว่าผู้เข้าชมมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์จะช่วยทำให้ธุรกิจพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า, ปรับปรุงการสนทนา และเพิ่มยอดขายออนไลน์ได้
3.ทำ Social Listening
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั้นอุดมไปด้วยแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับธุรกิจ โดยการติดตามช่องทางโซเชียลมีเดียและใช้อุปกรณ์ในการรับฟังผู้คนในโลกโซเชียล ธุรกิจสามรถเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความเห็นของลูกค้า, เทรนด์ และการกล่าวถึงแบรนด่ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้า, ระบุปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น และปรับปรุงการตลาดและการสื่อสารตามความเห็นของโซเชียลมีเดีย
4.ข้อมูลการขายหน้าร้าน (Point of Sales [POS] data)
ข้อมูลการขายหน้าร้าน (Point of Sales [POS] data) เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับธุรกิจค้าปลีกหรืออีคอมเมอร์ซ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลของการทำธุรกรรมของลูกค้าจะทำให้ธุรกิจมีความเข้าใจรูปแบบการซื้อ, ความชื่นชอบของลูกค้า และเทรนด์ของการขาย ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอผลิตภัณฑ์, กลยุทธ์การตั้งราคา และแคมเปญโปรโมตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล POS ยังช่วยในการระบุการขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าหลัก (Cross-selling) และโอกาสในการเพิ่มยอดขาย (Upselling) และเพิ่มสมรรถนะการขายโดยรวม
5.ฟังฟีดแบคจากลูกค้าและการบริการลูกค้าแบบมีปฏิสัมพันธ์
การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ไม่ว่าจะผ่านทางการบริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์, อีเมล์ หรือ Live chat จะเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับธุรกิจ การบันทึกวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของประเด็นของลูกค้า, จุดที่ก่อให้เกิดปัญหาของลูกค้า (Pain points) และระดับความพึงพอใจ โดยการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เสียงสะท้อนจากลูกค้า ธุรกิจจะสามารถค้นพบพื้นที่ที่จะทำให้ดีขึ้นได้, ปรับปรุงกระบวนการบริการลูกค้า และพัฒนาโปรแกรมอบรบพนักงานบริการลูกค้า
การเก็บ Data เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำความเข้าใจลูกค้าของตนเอง, ปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น และการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลรอบด้าน โดยการนำเอาเทคนิควิธีการเก็บข้อมูล เช่น การสำรวจออนไลน์, การวิเคราะห์เว็บไซต์, การรับฟังโซเชียลมีเดีย, การวิเคราะห์ข้อมูล POS และการวิเคราะห์เสียงสะท้อนจากลูกค้า ธุรกิจจะสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์และเป็นผู้นำในการแข่งขัน การใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้บริษัทสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด, เพิ่มประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และเพิ่มความสำเร็จในระยะยาวในยุคที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หากคุณต้องการตัวช่วยที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บ Data ได้ง่ายขึ้น โดยฟรีแลนซ์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจาก Fastwork