เพิ่มฐานลูกค้าได้ง่ายๆ เพียงโปรโมทร้านอาหารผ่าน Facebook ให้ถูกวิธี

ไวรัสทำยอดขายตก ผู้คนเก็บตัวอยู่ในบ้าน การจับจ่ายใช้สอยของคนเริ่มลดลง ร้านขายอาหารลูกค้าไม่สามารถมานั่งรับประทานที่ร้านได้ แล้วคุณจะมีวิธีการปรับตัวรับมือกับเหตุการณ์นี้ และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร?

ถ้าจะพูดถึง Social media แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก คงจะเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก Facebook มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 2,449 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก อยู่ที่ 47 ล้านบัญชี  (ข้อมูลจาก Datareportal, Jan 2020) นี่จึงถือเป็นโอกาสของร้านอาหารในการใช้ช่องทางนี้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมหาศาล และหากหน้าแฟนเพจ Facebook เปรียบเสมือนหน้าร้านอาหาร ก็ถึงเวลาแล้วละที่คุณต้องเริ่มจัดระเบียบเปลี่ยนแปลงให้หน้าร้านนี้สดใหม่ดูดีอยู่เสมอ 

ข้อมูลการติดต่อเป็นเรื่องสำคัญ

อย่างแรกเมื่อคุณมีแฟนเพจเฟซบุ๊กต้องตั้งและแก้ไขรายละเอียด  โดยการใส่ข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารให้ครบถ้วนและชัดเจน เพื่อที่จะอธิบายว่าร้านอาหารของคุณขายอะไร และสามารถติดต่อทางไหนได้บ้าง

โดยเริ่มจากการใส่คำอธิบายที่เป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับร้านว่าขายอะไร อะไรที่เป็นจุดเด่น รวมถึงการเลือกหมวดหมุ่ในตรงกับประเภทสินค้า เพื่อที่เฟซบุ๊กจะเลือกแนะนำเพจเราไปให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ชอบสินค้าตามที่เราเลือกไว้ ส่วนต่อมาการติดต่อ ควรใส่เบอร์โทรศัพท์ เว็บไซต์ อีเมล์ให้ครบ เพื่อที่คุณจะไม่พลาดการสื่อสารจากลูกค้าคนสำคัญ หรือจะสร้างปุ่มติดต่อที่หน้าเพจให้ตรงตามความต้องการของคุณได้เช่นกัน ส่วนสำคัญที่จะพลาดไม่ได้คือตำแหน่งที่ตั้ง เพราะจะช่วยให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบที่ตั้งและทราบระยะทางในการจัดส่งได้ รวมถึงเวลาทำการ ที่คุณสามารถระบุวันและเวลาเปิด-ปิดของร้านอาหารได้อีกด้วย 

ทำ Content ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ก่อนจะเริ่มทำ Content ได้นั้น เราต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายของเราคืออะไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีความสนใจอะไร แล้วอะไรที่จะเป็นประโยชน์กลุ่มลูกค้าของเราได้ เพราะเมื่อเรารู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้วการดึงความสนใจก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป รูปแบบของคอนเทนต์ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ของเจ้าของร้านอาหารที่จะสามารถดึงออกมาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น Video & Live steaming, Promotional, Album post, Education content, Realtime content, Infographic, Quiz or Question content หรือจะเป็น Text quote ก็ได้ เพราะการทำ Content ไม่มีข้อกำจัด ไม่มีถูกผิด อาจจะลองทำออกมาเรื่อยๆ เพื่อดูว่าคอนเทนต์เข้าถึงผู้บริโภคได้มากน้อยแค่ไหน หากคอนเทนต์ดีมีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย มีความน่าสนใจสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ก็จะช่วยเพิ่มผู้ติดตามแฟนเพจได้อย่างแน่นอน

ยิงโฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มลุกค้าให้มากขึ้น

จะทำโฆษณาทั้งที รูปที่ใช้ต้องดี กลุ่มเป้าหมายต้องเป๊ะ แคปชั่นต้องโดน จ่ายเงินค่าโฆษณาทั้งทีต้องทำให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ 

  1. เริ่มจากการเลือก Objective หรือวัตถุประสงค์ให้เหมาะสม แบ่งเป็น 3 หมวดหลักๆ ได้แก่
    • การรับรู้ (Awareness) จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเห็นโพสต์หรือโฆษณาในแคมเปญของเรา สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากๆ ได้
    • การพิจารณา (Consideration) จะเน้นการที่ให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการดูวิดีโอ, คลิกเข้าดูเว็บไซต์, ติดตั้งแอปฯ, engagement, ส่งข้อความ Inbox ฯลฯ
    • คอนเวอร์ชัน (Conversion) มีวัตถุประสงค์แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายต้องเกิดการซื้อสินค้า, มียอดขายจากแค็ตตาล็อก และเยี่ยมชมหน้าร้าน
  2. งบประมาณและการตั้งเวลา (Budget & Schedule) สามารถใส่จำนวนเงินและวันเวลาได้ตามที่ต้องการ แต่ต้องให้สัมพันธ์กับขนาดของกลุ่มเป้าหมายที่เลือกไปด้วยนะ ไม่ควรน้อยจนเกินไป
  3. เลือก Audience หรือกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับธุรกิจ โดยเลือกจาก สถานที่ (Location), อายุ (Age) และ เพศ (Gender) 
  4. การเลือก Target (Detailed Targeting)
    • ลักษณะทางประชากรศาสตร์ (Demographics) เช่น การศึกษา การทำงาน และไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ
    • ความสนใจกิจกรรมที่ชอบและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง (Interests) ยกตัวอย่าง ร้านอาหารขายพิซซ่า ควรจะเลือกเป็น Pizza, Fast food, Funk food เป็นต้น
    • พฤติกรรมของผู้ใช้งาน (Behaviors) ตั้งแต่ การใช้โทรศัพท์ การซื้อของออนไลน์
  5. Placement เป็นการเลือกว่าจะให้โฆษณาไปแสดงผลในส่วนไหนของ Platforms
    • Device สามารถเลือกได้ว่าจะให้โฆษณาแสดงบนคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
    • Platforms เลือกพื้นที่การแสดงผล ทั้ง Facebook, Instagram, Audience network และ Messenger
  6. Optimization & Delivery
    • Optimization for Ad Delivery ให้เลือกตามวัตถุประสงค์ที่เลือกไว้ข้างต้น
    • Cost Control เป็น optional อาจจะใส่หรือไม่ต้องใส่ก็ได้ สามารถปล่อยให้ Facebook คำนวณงบประมาณตามจำนวนเงินที่เราใส่ในหัวข้อ Campaign Details ให้อัตโนมัติได้เลย
    • When You Get Charged หรือ เกณฑ์การเรียกเก็บเงิน ปกติก็จะใช้เป็น Impression ตาม default ที่ตั้งมา
    • Delivery Type หรือ ประเภทการนำส่ง ที่ทาง Facebook แนะนำก็คือ แบบ Standard ทั่วไป หรือถ้าใครต้องการเร่งการนำส่งโฆษณาก็สามารถเลือกใช้ แบบ Accelerated ได้เลย
  7. การเลือกตัวโฆษณา (Ads)
    เริ่มจากเลือกเพจของร้านอาหารเรา แล้วก็เลือกโพสต์ที่จะให้ลงโฆษณา มีทั้ง สร้างโพสต์ใหม่, เลือกการโพสต์หน้าเพจที่มีอยู่แล้ว หรือจะใช้แบบจำลองของสินค้าแทนรูปภาพจริงก็ได้ แล้วเลือก Tracking สำหรับการติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยต้องทำการติดตั้ง Facebook Pixel ก่อน

ถ้าคอนเทนต์ดี เลือกกลุ่มเป้าหมายตรงแล้ว การยิงโฆษณาก็ถือเป็นอีกโอกาสทางเลือกในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มากขึ้นให้เพจร้านอาหารของคุณนั้นเอง

โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ร้านอาหารของคุณก็ต้องตามให้ทันเช่นกัน ทุกวิกฤตมีโอกาสรออยู่เสมอ หากอยากเพิ่มยอดขาย มีโอกาสโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนแผนรับมือตั้งแต่วันนี้ แล้วความสำเร็จของธุรกิจคุณจะอยู่เพียงแค่เอื้อม Fastwork พร้อมเป็นผู้ช่วยสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจคุณ

ฟรีแลนซ์ในหมวด Uncategorized

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.