วิธีเอาตัวรอดของธุรกิจร้านอาหารหลัง Covid-19

สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด -19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกนับแต่ต้นปีมาส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อต้องเข้ารักษาตัวจำนวนมาก หลายคนติดเชื้อขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาหายได้ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเศร้าสลดใจ  แม้จะมีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดของเชื้อเบาบางลง แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจว่า การแพร่ระบาดรุนแรงจะกลับมาอีกหรือไม่ ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส รัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ (Lockdown) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ธุรกิจต่างๆ ถูกสั่งให้ระงับเป็นการชั่วคราว ให้ประชาชนเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปไหนโดยไม่จำเป็น งดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน และเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ธุรกิจร้านจำหน่ายอาหาร มีคำสั่งให้งดนั่งรับประทานในร้าน จำหน่ายได้เฉพาะซื้อกลับไปทานบ้าน

ประเมินผลกระทบไวรัสโควิดต่อธุรกิจร้านอาหาร

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดเบาบางลง ปริมาณการตรวจพบผู้ติดเชื้อลดน้อยลง คาดว่าผู้ติดเชื้อจะเป็นศูนย์ในระยะเวลาอีกไม่นาน อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสอาจมีการแพร่ระบาดซ้ำอีกเมื่อไหร่ก็ได้ หากไม่มีมาตรการป้องกันทางสังคมที่ดี ซึ่งแน่นอนว่า รัฐจะยังไม่มีการปลดล็อกดาวน์ให้ธุรกิจร้านอาหารขายอาหารได้อย่างเสรี เช่นก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อ คงมีเพียงมาตรการผ่อนคลายให้บริการนั่งรับประทานในร้านได้ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการผ่อนคลายที่กำหนด ในสถานการณ์เช่นนี้ ลูกค้าจะยังไม่กลับมาอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากยังมีความกังวลการแพร่ระบาดของเชื้ออยู่ การจะทำให้ร้านอาหารอยู่รอดและมีกำไรนับว่ายากเย็นแสนเข็น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส หากยังคงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้วิกฤตนี้

แนวทางดำเนินธุรกิจร้านอาหาร หลังสถานการณ์โควิด

รัฐมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ตามลำดับ ธุรกิจร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการนั่งรับประทานได้ แต่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการผ่อนคลายที่กำหนด ซึ่งมาตรการโดยรวมมุ่งเน้นป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือ Face shield การตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกาย ทำความสะอาดมือด้วยเจลทำความสะอาด และเว้นระยะห่างทางสังคม เหล่านี้ เป็นต้น

ธุรกิจร้านอาหารที่จะเปิดให้บริการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันของรัฐ ทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในร้านให้มั่นใจว่าปลอดเชื้อ จัดโต๊ะบริการแบบนั่งเดี่ยวมีระยะห่างระหว่างโต๊ะ 1- 2 เมตร คัดกรองลูกค้า สังเกตลูกค้าสวมหน้ากากป้องกันหรือสวมใส่ Face shield มาก่อนที่จะเข้าร้าน ตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้า ให้ลูกค้าทำความสะอาดมือด้วยเจลทำความสะอาดที่เตรียมไว้ หากร้านค้าปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน ก็เชื่อว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการนั่งรับประทาน รวมถึงการซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านด้วย 

อีกปัจจัยที่จะช่วยให้จำหน่ายอาหารได้มากขึ้นในช่วงการแพร่ระบายของเชื้อไวรัส คือ การให้บริการส่งถึงบ้าน (Home delivery) ลูกค้าจำนวนมากยังมีความกังวนในเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อ ไม่ประสงค์ที่จะออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านและพึ่งพิงร้านที่มีบริการส่งถึงบ้าน ร้านอาหารควรจัดให้มีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน โดยคิดค่าบริการจัดส่ง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม นำเทคโนโลยีสื่อสารที่คุ้นเคยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นไลน์ สื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ หรืออาจสมัครใช้บริการ บริษัทผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร ซึ่งมีอยู่หลายบริษัทเปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้       

การเปิดร้านในสถานการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่า ลูกค้าเก่าที่จะเคยใช้บริการจะมีจำนวนลดลงไปมาก แต่อย่าลืมว่า ร้านอาหารที่เคยเปิดแข่งขันกันอยู่จำนวนมากก็ลดลงตามไปด้วย ลูกค้าที่เคยใช้บริการร้านอื่นที่ยังปิดให้บริการ อาจเหลือตัวเลือกเพียงร้านเราที่เปิดให้บริการ Fastwork เชื่อว่าขอเพียงทำอาหารให้น่ารับประทาน คุณภาพและราคาที่เหมาะสม จากวิกฤตก็จะเป็นโอกาส จะสร้างยอดขายได้ดีไม่แพ้การขายในอดีตก่อนการเกิดโควิตอย่างแน่นอน

ฟรีแลนซ์ในหมวด Uncategorized

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.