ในปัจจุบันนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าโลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบกันแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สูญเสียไปหรือว่าสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็ตาม และพวกเราที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมานี้ ก็มีแต่ต้องปรับตัวเพื่อเรียนรู้กันไปในทุก ๆ วันให้เท่าทันกับยุคสมัย ซึ่งในบทความนี้ ทางเราก็จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในสิ่งที่เพิ่มเข้ามาในยุคแห่งดิจิตอลกัน นั่นก็คือเส้นทางอาชีพสายใหม่อย่าง Data Engineer นั่นเอง
อาชีพ Data Engineer คืออะไร?
Data Engineer หรือบางที่อาจจะเรียกสั้น ๆ กันว่าตำแหน่ง DE ซึ่งก่อนจะมาทำความรู้จักกับตำแหน่งอาชีพนี้อย่างจริงจัง ก็อยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันก่อน ว่าในโลกยุคดิจิตอลอย่างปัจจุบันนั้น ได้ทำการเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เอาไว้บนระบบออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต โดยเรียกข้อมูลเหล่านั้นว่า Big Data เพราะการมีข้อมูลเก็บไว้ในพื้นที่ส่วนกลาง จะทำให้ทุกคนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย อัปเดตข้อมูลได้อย่างฉับไว และสามารถแบ่งปัน (Share) ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งผู้ที่สามารถจะเข้ามาจัดการกับข้อมูลหรือ Big Data ที่แสนสำคัญได้ ก็คือ Data Engineer นั่นเอง
Data Engineer หรือชื่อเรียกว่าภาษาไทยว่าวิศวกรข้อมูล จึงมีหน้าที่หลักในการนำข้อมูลดิบต่าง ๆ ที่ได้รับมา นำเข้าระบบส่วนกลาง จากนั้นก็พัฒนาระบบเพื่อให้ผู้คนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง และใช้งานข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นนั่นเอง ถึงแม้ว่าบางบริษัทหรือบางหน่วยงาน อาจจะมีการเพิ่มภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบอื่น ๆ ให้กับ Data Engineer อยู่บ้าง เพื่อที่จะสามารถดำเนินงานไปได้อย่างไหลลื่นยิ่งขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของ Data Engineer ก็จะมีดังต่อไปนี้
-
- นำเข้าและรวบรวมข้อมูลดิบจากแหล่งต่าง ๆ
- จัดระเบียบข้อมูลดิบเหล่านั้น
- นำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าระบบส่วนกลาง หรืออาจจะต้องออกแบบฐานข้อมูล
- สร้างการเชื่อมต่อ API เพื่อให้สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชันหรือระบบเครือข่ายได้
- สร้างเครื่องมือและโปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูล
- สร้างระบบแหล่งเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงสร้าง Pipeline ของข้อมูล
- ประเมินความต้องการและวัตถุประสงค์ของบริษัทหรือหน่วยงาน
- ปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย
- วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด และรายงานผล
ซึ่งผู้ที่มีตำแหน่ง Data Engineer ควรจะมีทักษะทางด้านการสื่อสาร การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาระยะยาวด้วย เพื่อที่จะสามารถนำเสนอหรืออธิบายระบบต่าง ๆ ให้ทางบริษัทหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าใจได้ว่าระบบต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างไร มีปัญหาอย่างไรแล้วต้องแก้ปัญหาที่จุดไหน หากผู้ที่เป็น Data Engineer สามารถอธิบายทุกอย่างให้หน่วยงานอื่นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจได้ ก็จะสามารถทำให้งานในส่วนนั้นมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
อาชีพ Data Engineer สำคัญต่อบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไร?
ทุกท่านคงจะได้เข้าใจถึงความสำคัญของอาชีพ Data Engineer กันมากขึ้นแล้ว ว่าอาชีพนี้เป็นอย่างไร มีภาระหน้าที่อะไรกันบ้าง ต่อมาเราจึงจะมาบอกให้รู้กัน ว่าอาชีพ Data Engineer นั้นมีความสำคัญอย่างไรกันบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในยุคดิจิตอลสมัยใหม่
1. สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้
อย่างที่ได้เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า Data Engineer มีภาระหน้าที่หลักก็คือการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นสำหรับบริษัทหรือหน่วยงานใด ๆ ที่มี Big Data จำนวนมากอยู่แล้ว สมควรอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมี Data Engineer สักคนหรือสักแผนกในองค์กร ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างไหลลื่น ช่วยเก็บข้อมูลได้ทุกรายละเอียดแล้ว ก็ยังสามารถช่วยย่อยข้อมูลต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบที่เป็นระเบียบให้กับองค์กรของคุณได้อีกด้วย
2. สามารถมีข้อมูลคุณภาพและน่าเชื่อถือได้
ในบางครั้งข้อมูลจาก Big Data นั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริงทุกอย่าง บางข้อมูลอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นเพียงข้อมูลขยะและเปลืองพื้นที่ ผู้ที่เป็น Data Engineer จึงสามารถช่วยคัดกรอง Big Data ขององค์กรคุณให้มีแต่ข้อมูลคุณภาพ น่าเชื่อถือ และยังสามารถทำความสะอาดข้อมูลขยะเหล่านั้นให้ได้อีกด้วย
3. สามารถมีพื้นที่เก็บข้อมูลที่ใช้งานได้ง่าย
อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญของ Data Engineer ก็คือนอกจากจะช่วยรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ มาให้กับคุณแล้ว ก็ยังสามารถสร้างหรือพัฒนาพื้นที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้กับคุณได้อีกด้วย ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะมีปริมาณมากเพียงไหน Data Engineer ก็ต้องสร้างพื้นที่เก็บข้อมูลที่เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อทำให้ผู้คนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้สะดวกรวดเร็ซ มีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการค้นหา
4. ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาระบบในอนาคต
เนื่องจากในปัจจุบันของโลกยุคดิจิตอล สิ่งที่อำนวยความสะดวกทุกท่านได้อย่างง่ายดายที่สุดบนโทรศัพท์มือถือก็คงไม่พ้นในเรื่องของแอปพลิเคชั่น สำหรับบริษัทหรือหน่วยงานใดที่กำลังจะอยากจะพัฒนาระบบหรือขยายการเข้าถึงในอนาคตด้วยแอปพลิเคชั่น ก็จำเป็นจะต้องมี Data Engineer เพื่อทำให้แอปพลิเคชั่นเหล่านั้นเชื่อมต่อเข้ากับระบบหลังบ้านและ Big Data นั่นเอง
5. ทำให้ข้อมูลของคุณมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
อย่างที่ทุกท่านอาจจะได้ทราบจากประเด็นอื่น ๆ ก่อนหน้านี้แล้ว ว่าอาชีพอย่าง Data Engineer มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและเข้าถึงข้อมูล แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น เพราะ Data Engineer ยังสามารถที่จะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อองค์กรของคุณมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของพื้นที่เก็บข้อมูล หรือว่าการกำหนดมาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลก็ยังได้ ซึ่งประเด็นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรของคุณได้รับความไว้วางใจมากขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจ
คุณ Phakorn
ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้าน Data Engineer โดยตรง และยังมีประสบการณ์ด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Data Analyst หรือ Data Scientist สามารถเข้ามาช่วยออกแบบและพัฒนาระบบของคุณได้ด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว
คุณ Kriangsak
Data Engineer ผู้มีประสบการณ์ทำงานด้าน Clound มาแล้วหลากหลาย หรือจะเป็นงานด้านวางรากฐานระบบแบบ on-premise ก็สามารถทำได้ และพร้อมให้คำปรึกษากับคุณได้อย่างผู้รู้จริง
คุณ พีระกานต์
ไม่เพียงมีประสบการณ์การทำงานด้าน ETL develope มากว่า 2 ปีเท่านั้น แต่ยังมีความสามารถด้านการออกแบบ Pipeline และ warehouse ให้กับคุณได้อีกด้วย อีกทั้งยังบริการติดตามงานและให้คำปรึกษากับคุณฟรีหลังจากส่งมองงานภายใน 30 วันอีกด้วย
สำหรับใครที่กำลังสนใจอาชีพ Data Engineer หรือว่ากำลังตามหาบุคคลที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือระบบต่าง ๆ ของบริษัทหรือหน่วยงานของคุณอยู่ ก็สามารถมองหาวิศวกรที่คุณต้องการจากแหล่งรวมฟรีแลนซ์คุณภาพอย่าง Fastwork ที่มีให้คุณได้เลือกใช้บริการมากมาย ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ การรันตีความปลอดภัย ไม่โดนโกง ดูแลตลอดการจ้างงานแน่นอน