- ทำไมธุรกิจต้องจดทะเบียนการค้า?
- ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า
- เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนการค้า
- ใครบ้างที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนการค้า
- จดทะเบียนการค้าได้ที่ไหนบ้าง?
- ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการค้า
ทำไมธุรกิจต้องจดทะเบียนการค้า?
การจดทะเบียนการค้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางการค้า ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ธุรกิจของเรามีตัวตนอยู่จริง ลูกค้าสามารถที่จะติดต่อรับ คืนหรือเปลี่ยนสินค้าได้ เมื่อสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ในช่วงเวลาที่รับประกัน นอกจากนี้การจดทะเบียนการค้ายังใช้เป็นหลักฐานในด้านธุรกรรมทางการเงินได้ด้วย เช่น ยื่นขอกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ เป็นต้น
ข้อควรรู้ : การจดทะเบียนการค้า เจ้าของกิจการต้องขอจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิยช์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือกิจการ[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][/vc_column][/vc_row][vc_row el_id=”step-commercial-registration”][vc_column][vc_column_text]ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า
ปัจจุบันการจดทะเบียนการค้า สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงเข้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th ก็สามารถดำเนินการจดทะเบียนการค้าแบบออนไลน์ได้แล้ว
- ลงทะเบียนในระบบเพื่อใช้งาน
- จองชื่อนิติบุคคล
- ทำรายการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์
- ลงรายมือชื่อ
- ชำระค่าธรรมเนียม
- พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และรอรับเอกสาร
- แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ทพ.) ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชย์ (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)
- หนังสือแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการของนิติบุคคล (ถ้ามี)
- กรณีผู้ประกอบการพาณิชเป็นเจ้าบ้าน ให้แสดงทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน เว้นแต่มิได้ เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
– หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ หรือ
– สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
- แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชย์และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
1.บุคคลธรรมดา (ผู้ประกอบการคนเดียว)
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา)
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต่างกันที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ทุกคนรับผิดชอบในส่วนของหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีบุคคลที่จำกัดความรับผิดและมีบุคคลที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินทั้งหมด)
4.บริษัทจำกัด และบริษัทที่เป็นมหาชนจำกัด
5.บริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิด หรือขยายสาขาในประเทศไทย[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][/vc_column][/vc_row][vc_row el_id=”where-commercial-registration”][vc_column][vc_column_text]จดทะเบียนการค้าได้ที่ไหนบ้าง?
สถานที่ในการยื่นขอจดทะเบียนการค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ในเขตกรุงเทพ
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
- สำนักงานเขตทุกเขต ที่มีสำนักงานใหญ่รับจดทะเบียนการค้า
ในเขตภูมิภาค
- เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา ที่มีสำหนักงานใหญ่รับจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
– จดทะเบียนการค้าตั้งใหม่ 50 บาท
– จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
– จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
– ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
– ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
– ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)[/vc_column_text][vc_empty_space height=”10px”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]หากคุณสนใจเริ่มวางแผนทำธุรกิจร้านค้าออนไลน์และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำในการจดทะเบียนการค้า ให้ Fastwork เป็นผู้ช่วยต่อยอดพัฒนาธุรกิจของคุณให้เป็นจริงได้ สามารถเลือกชมก่อนได้ที่ https://fastwork.co/commercial-registration[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]