การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือฉลากสินค้านั้น ฟอนต์ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งอันดับต้นๆต่องานออกแบบ เราอาจจะเคยฟอนต์ต่างๆมากมายหลายรูปแบบ เห็นงานออกแบบที่เป็นกระดาษสีขาว และฟอนต์เรียบง่ายเพียงไม่กี่ตัว แต่กลับสื่ออารมณ์และความรู้สึกที่ดีต่อผู้บริโภค กลับกันงานออกแบบที่ใส่ข้อความหรือฟอนต์จำนวนมากนั้น กลับไม่สามารถสื่อใจความสำคัญกับผู้บริโภคได้ ฉะนั้นแล้ววันนี้เราจะมาดูฟอนต์แต่ละประเภทว่าฟอนต์แต่ละประเภทนั้นเหมาะกับงานประเภทใดบ้าง ขนาดและแบบของฟอนต์ที่เหมาะสม และตัวอย่างงานในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ประเภทของฟอนต์
ฟอนต์นั้นสามารถแบ่งออกได้มากมายหลายประเภท โดยสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
-
- Serif – ฟอนต์มีฐาน ให้ความรู้สึกเป็นทางการ หรูหรา
- Sans Serif – ฟอนต์ไม่มีฐาน ให้ความรู้สึกทันสมัย เป็นมิตร เข้าถึงได้ง่าย มีความมั่นคง
- Display – ฟอนต์เอกลักษณ์ ให้ความรู้สึกแตกต่าง เหมาะสำหรับพาดหัวข้อความสำคัญ
- Scripts/ Handwriting – ฟอนต์ลายมือ ให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ ใช้ได้ทั้งงานทางการและไม่ทางการ
- Monospace – ฟอนต์ที่มีระยะห่างเท่ากัน ให้ความรู้สึกทันสมัย และอนาคต
ฟอนต์กับอารมณ์
การเลือกฟอนต์ที่ใช้ในงานออกแบบนั้น จึงส่งโดยตรงต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภค โดยฟอนต์ในแต่ละแบบนั้นจะให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน อย่างแรกเราจึงต้องดูว่าเรากำหนดทิศทางแบรนด์ไว้อย่างไร ต้องการให้แบรนด์สื่อถึงผู้บริโภคอย่างไร เป้าหมายและกลุ่มลูกค้า แล้วจึงกำหนดตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจน ฟอนต์จึงสามารถสื่อถึงอารมณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี อาทิ การใช้ฟอนต์ในการออกแบบป้าย การใช้ฟอนต์ในส่วนของหัวข้อหรือข้อความ เป็นต้น การใช้ฟอนต์ซ้ำๆในแบรนด์ ช่วยให้ผู้บริโภคจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น
การจับคู่ฟอนต์
การจับคู่ฟอนต์ เป็นเทคนิคที่นิยมใช้งานออกแบบ ให้งานออกแบบมีมิติและสวยงามมากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยตรง วันนี้เรามีเทคนิคง่ายๆที่นิยมใช้ในงานออกแบบมาให้ชมกัน โดยการเลือกจับคู่ฟอนต์ที่เข้ากัน อาทิ
การจับคู่ 2 ฟอนต์
- Playfair + Sans Serif
ใช้ฟอนต์ Playfair บนข้อความสำคัญ อธิบายข้อความเด่น และใช้ฟอนต์ Sans serif แบบไม่มีฐาน ไว้ในข้อความอธิบายสินค้า โดยเว้นระยะห่างของฟอนต์ Sans Serif เล็กน้อย ช่วยให้ข้อความที่ต้องการสื่อเด่นชัดมากยิ่งขึ้น
- Script + Sans Serif
ใช้ฟอนต์ลายมือ Script บนข้อความสำคัญหรือรสชาติ และใช้ฟอนต์ Sans serif แบบไม่มีฐาน และมีน้ำหนักบางลง ช่วยให้ข้อความดูสวยงามมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เห็นข้อความหลักชัดเจนมากขึ้น
การจับคู่ 3 ฟอนต์
- Serif + Script + Sans Serif
ใช้ฟอนต์ Serif บนบทขยายความ ใช้ฟอนต์ Script บนข้อความหลัก และใช้ฟอนต์ Sans Serif แบบไม่มีฐาน เป็นคำอธิบายสินค้า เมื่อผู้บริโภคมองข้อความบนฉลากสินค้า จะเข้าใจสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
- Serif + Serif + Serif
ใช้ฟอนต์ Serif ทั้ง 3 ตำแหน่ง ใช้เลือกใช้น้ำหนัก และระยะห่างที่แตกต่างกัน ช่วยให้ความรู้สึกต่างกัน และเน้นข้อความเด่นมากยิ่งขึ้น
ฟอนต์แบ่งรสชาติ
การจับคู่ฟอนต์ที่เหมือนกันในผลิตภัณฑ์หลายรสชาตินั้น เมื่อผู้บริโภคมองเห็น จะสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน โดยมองข้อความที่แตกต่างกันเป็นหลัก จึงทราบถึงรสชาติของสินค้าได้โดยง่าย เมื่อวางบนชั้นวางสินค้า ลูกค้าจะสามารถเลือกรสชาติของสินค้าที่ตนเองต้องการได้ทันที
ตัวอย่างการวางข้อความบนสินค้า
ฉลากบนกล่องนั้น ใช้เทคนิคการวางฟอนต์ Serif + Script + Sans Serif เมื่อวางบนฉลากขาวที่เรียบง่าย ก็จะสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าชนิดใด และสื่อถึงสินค้าที่ต้องการจำหน่ายได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ให้สื่อถึงอารมณ์ต่อผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
Written by Freelance Fastwork: CoyaStudio
สนใจจ้างงานฟรีแลนซ์ได้ที่ https://fastwork.co/user/coyastudio/packaging-50030976