5 หลักสำคัญเกี่ยวกับการประมาณราคาก่อสร้าง

5 หลักสำคัญเกี่ยวกับการประมาณราคาก่อสร้าง

Table of Contents

          การประมาณราคาก่อสร้าง เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับการก่อสร้างถือเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อคำนวณหาค่าดำเนินการ ปริมาณวัสดุในการก่อสร้าง และค่าแรงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนึ่งโปรเจคทั้งหมด กล่าวคือเป็นการพยากรณ์ราคาล่วงหน้าให้มีความใกล้เคียงความจริงมากที่สุด เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาการก่อสร้าง รวมไปถึงการจัดตั้งงบประมาณต่างๆ ให้ครอบคลุมโครงการอย่างละเอียด

          การมีความรู้ความเข้าใจในการประมาณราคาก่อสร้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างควรรู้เท่านั้น หากคุณกำลังแพลนก่อสร้างบ้าน อาคาร สำนักงาน ฯลฯ การศึกษาเกี่ยวกับ การประมาณราคาก่อสร้าง เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะคุณจะสามารถประมาณการด้านการเงินได้รอบคอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมหลักการสำคัญมาให้คุณได้เข้าใจอย่างง่ายๆ เพียงแค่ 5 หลักในการประมาณราคาก่อสร้างเท่านั้น

1. ความหมายของการประมาณราคาก่อสร้าง

          การประมาณราคาก่อสร้าง คือ การคาดคะเนราคาก่อสร้างให้มีความใกล้เคียง หรือ ครอบคลุมเท่ากับความจริงมากที่สุด เป็นการคำนวณหาปริมาณและราคาวัสดุ ค่าแรง ค่าก่อสร้าง ค่าภาษี ค่าโสหุ้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงตามราคากลางท้องตลาดควบคู่กับข้อมูลสถิติต่างๆ ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประมาณราคาก่อสร้างจะยังไม่ใช่ราคาจริงทั้งหมด แต่มีความใกล้เคียงราคาจริงพอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ประมาณราคาและหลักการคำนวณราคาที่เลือกใช้ร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ประมาณราคาที่มีความเชี่ยวชาญมักจะประมาณราคาก่อสร้างได้ใกล้เคียงความจริงซึ่งมีความผิดพลาดเพียง 1-5% ของราคาจริงที่สรุปได้หลังการก่อสร้างเสร็จสิ้น

2. วัตถุประสงค์ของการประมาณราคาก่อสร้าง

  • เพื่อให้ทราบงบประมาณค่าก่อสร้างเพื่อกำหนดราคากลางค่าก่อสร้างในโครงการ
  • เพื่อกำหนดค่างวดงานในการก่อสร้างตามแผนงานและสะดวกในการเบิกจ่าย
  • เพื่อคำนวณค่างานเพิ่ม หรือ ลด จากสัญญางานก่อสร้าง (ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างมีการเพิ่มเติมงานก่อสร้างนอกเหนือจากสัญญาจ้าง)
  • เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ หรือ ประเมินจัดตั้งงบประมาณ
  • เพื่อจัดทำเอกสารเสนอราคาก่อสร้างในการประมูลของผู้รับเหมา

3. อุปสรรคและปัญหาในการประมาณราคาก่อสร้าง

  • ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลราคา

    • ใบเสนอราคาไม่ตรงกับราคาซื้อขายจริงตามท้องตลาด
    • ผู้ประมาณราคาไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากร้านค้าที่เข้าไปสอบถาม
  • ปัญหาที่เกี่ยวกับกฎระเบียบทางราชการ

    • การใช้ราคาควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งบางกรณีราคาขายจริงและสำนักงบประมาณไม่ใกล้เคียงกัน
    • วัสดุที่มีมาตรฐาน มอก. เดียวกัน แต่มีราคาแตกต่างกัน
  • ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวบุคคล

    • เจ้าหน้าที่อาจขาดทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ หรือ ขาดความเข้าใจในการอ่านแบบก่อสร้าง

4. การประมาณราคาขั้นต้น

          เป็นการประมาณราคาก่อสร้างที่ทำได้โดยจะต้องมีแบบอาคารในการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อใช้ในการคำนวณหาให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผลลัพธ์ไม่ควรคลาดเคลื่อนเกิน 30% เป็นหลักการคำนวณหยาบให้เห็นภาพรวมชัดเจนก่อนที่จะประมาณราคาอย่างละเอียด โดยที่ผู้ประมาณราคาจะใช้วิธีนับหน่วยการใช้อาคารเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น โครงการหอพักที่ใช้การนับจำนวนห้องพัก แล้วคำนวณคร่าวๆ ต่อห้องว่าเท่าไหร่ จึงจะได้ผลลัพธ์ของทั้งโครงการ อย่างไรก็ตามผู้ประมาณราคาก่อสร้างอาจต้องมีข้อมูลพื้นฐานเพียงพอเพื่อใช้ในการคำนวณ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อัตราเงินเฟ้อ ขนาดของโครงการ ไปจนถึงค่า  FACTOR F ที่เปลี่ยนแปลง

5. การประมาณราคาอย่างละเอียด

          มาถึงขั้นตอนการประมาณราคาก่อสร้างอย่างละเอียด ที่มีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างย่อดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบแบบโครงสร้าง

          เริ่มต้นจากการอ่านแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและแบบทางด้านโครงสร้างรวมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด โดยวิศวกรจะคำนวณหาปริมาณงานต่อหน่วยไว้ให้ จากการถอดแบบคิดราคาตามงานก่อสร้างดังนี้

    • งานฐานราก

    • งานโครงสร้าง ค.ส.ล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก)

    • งานหลังคา

    • งานฝ้าเพดาน

    • งานผนังและฝา

    • งานตกแต่งผิวพื้นและผนัง

          รวมไปถึงการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้ในงานก่อสร้าง พร้อมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต้นทุนงานก่อสร้างไว้ตลอดการทำงาน และมีการปรับตัวเลขราคาต่างๆ ให้อัปเดตอยู่เสมอ

  • กำหนดราคากลาง

          เพื่อให้ได้ราคากลางในการคำนวณที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดราคากลางของค่าวัสดุและค่าแรงต่อหน่วย โดยการใช้ข้อมูลจากสำนักงานงบประมาณเป็นหลัก

  • ตรวจสอบความถูกต้อง

          เป็นขั้นตอนที่ต้องทำหลังจากได้ปริมาณงานและราคาทั้งหมดต่อหน่วยแล้ว เพื่อสำรวจความถูกต้องของข้อมูลก่อนการจัดทำเอกสารประมาณราคาก่อสร้าง โดยอาจทำโดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่

  • จัดทำเอกสารประมาณราคาก่อสร้าง

          1. การจัดทำบัญชีรายละเอียดประมาณราคา

              ขั้นตอนนี้กำหนดโดยสถาปนิกของโครงการและผู้ประมาณราคาจะทำหน้าที่คำนวณราคาอย่างละเอียดซึ่งประกอบไปด้วย

    • ราคาค่าก่อสร้างทั้งหมดภายในโครงการ
    • ราคาไฟฟ้าและค่าน้ำภายใน-นอกโครงการ
    • ค่าถมดินและปริมาตรดินถม
    • ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
    • FACTOR F
    • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          2. การจัดทำรายละเอียดคำนวณราคาก่อสร้าง

    • รายละเอียดการคำนวณราคางานไฟฟ้าและประปาภายนอกอาคาร
    • ราคาค่าวัสดุ ปริมาณวัสดุ ค่าแรง ไฟฟ้าภายใน ประปาภายใน ถนน
    • FACTOR F (เอกสารประกอบในการเสนอราคาของผู้รับจ้าง)

          การประมาณราคาก่อสร้างมีผลต่อการตั้งงบประมาณโครงการอย่างมาก จึงทำให้หลายคนต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการประมาณราคาก่อสร้างโดยตรง เพื่อให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่ง Fastwork เราได้รวบรวมไว้ให้ในทีเดียว โดยที่คุณไม่ต้องหาเองให้เสียเวลาและไม่ต้องพิจารณาเลือกจ้างนานกว่าที่ควร ให้คุณได้งานประมาณราคาที่ตอบโจทย์ ปลอดภัย ไม่โดนโกง แถมยังดูแลตลอดการจ้างงานอีกด้วย

ฟรีแลนซ์ในหมวด Graphic & Design

ฟรีแลนซ์ในหมวด ถอดแบบ BOQ

ฟรีแลนซ์ในหมวด เขียนแบบวิศวกรรมและออกแบบโครงสร้าง

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.