หลายคนมีความเชื่อว่า งานฟรีแลนซ์คืองานสบายๆ อยากทำตอนไหนก็ได้ อิสระ จะว่าถูกก็ถูก จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง แต่อย่าลืมว่าการได้เงินก็ดันอิสระเหมือนกันนี่สิ! ดังนั้นถ้าคิดจะเป็นฟรีแลนซ์แบบเต็มตัวล่ะก็ควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่กันนะ?
ถ้าจะให้เปรียบง่ายๆ การทำงานบริษัทแม้ว่าจะเป็นการทำงานที่ Fix เวลาไว้แล้ว ไม่ค่อยยืดหยุ่น แถมบางครั้งยังกินเวลาอีกต่างหาก แต่ทว่าสิ่งที่ได้แน่นอนคือ เงินเดือน ในทุกๆ เดือน
แตกต่างกันกับ ‘ฟรีแลนซ์’
แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา เอ้ะ…เดี๋ยว หมายถึงว่าแล้วแต่ว่าในช่วงนั้นๆ มีงานเข้ามามากน้อยแค่ไหน สำหรับคนที่มีการจ้างฟรีแลนซ์แบบประจำหรือสม่ำเสมอก็ยังพอไปได้อยู่ แต่ถ้ามือใหม่ที่นานๆ มาทีล่ะก็คงต้องมีเงินเก็บกันสักหน่อย
ต้องเกริ่นก่อนว่า ทำใจให้นิ่งๆ แล้วตามอ่านกันทีละข้อๆ เริ่ม!
1.เงินสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
ค่าใช้จ่ายพื้นฐานมีอะไรบ้าง? ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าเช่าห้อง ถ้าอยู่บ้านก็ค่าน้ำค่าไฟค่ะ ค่าอินเทอร์เน็ตและค่าเจ็บป่วย รวมถึงค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นของฟรีแลนซ์ เช่น คอมพิวเตอร์หรือฉุกเฉิกสำหรับซ่อมแซม เป็นต้น
- ค่าอาหารการกิน
จะต้องคำนวณว่าโดยปกติแล้ว แต่ละวันเรากินของต่างๆ เท่าไหร่และเอาไปคูณ 30 (30 วันต่อเดือน)
- ค่าเดินทาง
สำหรับการเดินทางออกไปพบลูกค้า เวลาไปขายงานที่บรีฟงาน ถ้าไม่ได้ทำจากออนไลน์
- ค่าเช่าห้องหรือค่าน้ำค่าไฟ
สำหรับฟรีแลนซ์ที่อยู่บ้านก็คงจะเป็นค่าน้ำค่าไฟในแต่ละเดือน แต่สำหรับที่เช่าห้องพักอยู่ก็คำนวณบวกเข้าไป
- ค่าอินเทอร์เน็ต
แน่นอน ข้อนี้สำคัญอ่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วเวลาส่งงานหรือหาข้อมูลต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตทั้งนั้น
- ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับฟรีแลนซ์
สำหรับใครมีคอมพิวเตอร์คู่ใจอยู่แล้วก็โล่ง แต่ถ้าใครยังไม่มีก็ต้องเก็บเงินเพื่อนซื้อมาครอบครองสักหน่อย และถึงมีแล้วก็จำเป็นต้องมีเงินเอาไว้เพื่อซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม หรือ เวลาที่เจ้าคอมพิวเตอร์ดันป่วยขึ้นมา
- ค่าเจ็บป่วยส่วนตัว
หาหมอเพราะพักผ่อนนอน วูบเอาง่ายๆ เพราะงานรุมก็เป็นกันอยู่บ้าง ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนเราไม่เจ็บป่วย ดังนั้นควรมีเงินเอาไว้ส่วนนี้ด้วยนะ
2.เงินฉุกเฉิน
อย่างที่บอกว่างานฟรีแลนซ์ไม่ได้เงินทุกๆ เดือนและถ้าเกิดมีอะไรกะทันหันล่ะก็ การมีเงินสำรองฉุกเฉิกเอาไว้เป็นเรื่องที่ควรอย่างยิ่ง! จะเก็บมาตั้งแต่ก่อนผันตัวเป็นฟรีแลนซ์หรือจะเก็บแยกส่วนจากเงินที่ได้จากงานฟรีแลนซ์ก็ได้ ประมาณ 10-20 % แล้วแต่ว่าจะจัดการ
ในกรณีการเก็บเงินหลักๆ จะมีอยู่ 2 ก้อน และอีกสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ ควรจะมีเงิน (ในข้อที่1) สำรองเอาไว้อย่างน้อยๆ 3-4 เดือน สมมติว่าภาระค่าใช้จ่ายพื้นฐานรวมกันแล้วเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน ก็ควรจะมีเงินอย่างน้อยๆ 60,000 บาท เอาไว้ แต่ต้องขอบอกว่าช่วงแรกๆ ในการเริ่มต้นเป็นฟรีแลนซ์ไม่ได้สบายอย่างที่หลายคนคิด ดังนั้นถ้ารักจะเป็นฟรีแลนซ์ล่ะก็ ความอดทนและความประหยัดเป็นสิ่งจำเป็นพอสมควร
สำหรับคนไหนที่คิดว่าไม่รอดชัวส์ๆ อ่ะ มันเสี่ยงเกินไป อันนี้เป็น Tip เล็กๆ สำหรับคนที่เบื่องานประจำ คือหางาน Part-Time เช่น ปกติก็รับฟรีแลนซ์ทำงานทุกวันแล้วแต่สะดวก และลองหาวันเสาร์อาทิตย์ทำงานเสริมดู เป็นการเพิ่มรายได้อีกทาง แต่ไม่ถึงกับต้องทำเป็นงานประจำ แบบนี้ก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วนะ
________________________________________________