5 ข้อที่ฟรีแลนซ์ต้องเขียนในใบสัญญาจ้างงาน

ในการการจ้างของฟรีแลนซ์จำเป็นต้องทำสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกันก่อนว่าจะมีขอบเขตการทำงาน ส่งงาน แก้งาน หรืออื่นๆ อย่างไรบ้าง ตัวสัญญาจ้างงานนี่แหละจะทำให้ฟรีแลนซ์ไม่โดนโกงและไม่ถูกทิ้งไว้กลางทาง!

 

สัญญาคืออะไร?

สัญญา คือเอกสารที่ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการจ้างงานระหว่างผู้ว่าจ้างและฟรีแลนซ์ จะมีรายละเอียดอยู่หลายอย่าง เช่น ระยะเวลาการทำงาน จำนวนเงินที่ต้องง่าย ปัญหาอื่นๆ เช่นทำงานล่าช้าหรือยกเลิกจ้างงาน เป็นต้น ปกติถ้าเราทำงานกับบริษัทใหญ่จะมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าเราต้องทำงานกับเจ้าเล็กๆ อาจจะต้องมีเก็บเอาไว้เองและส่งให้ทางผู้ว่าจ้างรับทราบ

 

ที่นี้มาดูกันดีกว่าว่า ใบสัญญาจ้างงานที่ดี ควรจะประกอบด้วยอะไรบ้าง?

1. ขอบเขตการทำงานและรูปแบบการส่งงาน รวมไปถึงจำนวนครั้งที่แก้งานได้

แก้เป็นรอบที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้เนี่ย เมื่อไหร่จะได้ปิดจ๊อบสักที! เคยบ่นประโยคนี้หรือเคยได้ยินผ่านหูบ้างมั้ย ดังนั้นวิธีแก้คือให้ทำสัญญาให้ชัดเจนไปเลยว่า ค่าจ้างจำนวนเท่านี้ เราจะทำงานให้ประมาณไหน และ ส่งงานให้แบบไหน รวมถึงแก้งานได้กี่ครั้ง ยกตัวอย่างเช่น รับงานวาดภาพการ์ตูน ราคาภาพละ 500 บาท จะส่งให้เป็นไฟล์ JPEG หากต้องการปริ้นใส่กรอบเพิ่มอีก  150 บาท รวมเป็น 650 บาท สามารถแก้งานได้  1 ครั้ง โดยจะส่งภาพร่างแบบดินสอให้ดู หลังจากลงสีจะไม่สามารถแก้งานได้อีก เป็นต้น

 

2. กำหนดการจ่ายเงินและค่าเสียหายหากยกเลิกงาน

ในรายที่จ้างงานผ่านทางเว็บไซต์ที่มีระบบจ่ายเงินอยู่แล้วจะสะดวกหน่อย แต่หากเป็นการจ้างงานฟรีแลนซ์ที่ติดต่อกับผู้ว่าจ้างโดยตรง ควรจะระบุในสัญญาให้แน่ชัดว่าจะจ่ายเงินแบบไหน จะจ่ายหมดตอนจบงานเลยทีเดียว หรือจะมัดจำไว้ก่อน  30% เมื่องานเสร็จจะจ่ายอีก 70% ให้ที่เหลือเป็นต้น รวมไปถึงรอบการจ่ายเงิน บางรายจ่ายทันทีเมื่องานจบ แต่บางบริษัท โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ จะมีเครดิตเทอมประมาณ  30 วัน ดังนั้นจึงควรระบุด้วย สำหรับค่าเสียหายหากลูกค้าต้องการยกเลิกงานก็ควรกำหนดให้เรียบร้อยในสัญญา เป็นอันรับทราบร่วมกัน

 

3. บอกถึงเรื่องลิขสิทธิ์ผลงานนั้นๆ

โดยปกติแล้วเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานจะเป็นของฟรีแลนซ์ที่ทำงานนั้นๆ ออกมา นอกจากจะมีการตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ว่าเป็นการจ้างออกแบบให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง หรือคุยกันแล้วว่าเจ้าของลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ว่าจ้าง เป็นต้น

 

4. ปรับเมื่อผู้ว่าจ้างบรีฟหรือฟีคแบคงานล่าช้า

ในกรณีที่เราส่งงานไปเรียบร้อยแล้ว และจะต้องได้รับ Feedback เพื่อแก้งานชิ้นสุดท้ายและส่งตามกำหนดสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างไม่ยอมตอบกลับเรามาสักที เราก็ไม่ควรรอหากเลยกำหนด เราสามารถกำหนดในสัญญาได้ว่า หากผู้ว่าจ้างไม่ให้ Feedback จนทำให้งานล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ จะปรับเป็นวันละเท่าไหร่ ก็ตามแต่จะตกลง

 

 5. บริการหลังการขาย

สำหรับคนที่ออกแบบเว็บไซต์ที่เขียนโค้ด อาจจะต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า เกิดติดบั๊กขึ้นมา เราสามารถระบุไปได้ว่าจะดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากส่งงานครั้งสุดท้ายแล้ว เป็นต้น หลังจากสิ้นสุดระยะเวลา 1 เดือน ตามใบสัญญาจ้างงาน หากยังต้องการจ้างให้ดูแลต่อ จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมเท่าไหร่ก็ว่าไป

________________________________________________

เริ่มทำฟรีแลนซ์วันนี้ที่   😉 

footer-banner-for-blog

ฟรีแลนซ์ในหมวด Uncategorized

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.