ฟรีแลนซ์ VS สตาร์ทอัพ

ตอนนี้ฟรีแลนซ์บางคนอาจจะอยู่ในช่วงตันของชีวิต กำลังอยากจะลองสิ่งใหม่ๆ หลายคนก็เริ่มที่จะหันไปทางกระแสที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ก็คือ “การทำสตาร์ทอัพ” แต่การทำสตาร์ทอัพจะแตกต่างกับฟรีแลนซ์อย่างไร แตกต่างกันแค่ไหน คุณ JOHN RAMPTON ที่เคยทำฟรีแลนซ์และสตาร์ทอัพ สลับไปมา จะมาเล่าบอกให้ฟังว่า จากการเป็นฟรีแลนซ์เป็นสตาร์ทอัพนั้นรู้สึกอย่างไร

 

  1. จากการทำงานคนเดียว สู่ การพบปะผู้คนอีกครั้ง

การเป็นฟรีแลนซ์ ปกตินั้นจะไม่ค่อยได้เข้าสังคมเท่าไหร่ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีหรอก หลายๆคนก็ถนัดที่จะทำงานคนเดียวมากกว่า แม้ว่าจะทำงานเป็นโปรเจค แต่คนที่คุณต้องโคงานด้วยก็อาจจะมีแค่ คน หรือ 2คน เพียงเท่านั้น บางทีก็ได้รับงานผ่านทางอีเมล หรือ เว็บที่ใช้คุยงานต่างๆเช่น basecamp podio หรือ trello ที่ใช้ การติดต่อกันตัวต่อตัวค่อนข้างน้อย

มันออกจะเป็นงานยากเล็กน้อยในการเปลี่ยนแปลง สำหรับการเป็นคนสร้างสตาร์ทอัพนั้น ต้องสร้างทีมขึ้นมา คุณไม่สามารถทำอะไรทุกอย่างด้วยตัวเองได้ ต้องมีทำงาน คนเขียน คนขาย ต้องคิดถึงบัญชี การตลาดออนไลน์ และอีกหลายๆคน

รู้สึกตัวอีกที ก็รายล้อมไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ที่ต้องทำงานที่ต้องใช้ความเชื่อใจและความเครียด จาก บู๊คนเดียว กลายเป็นต้องทำการดูแลทีมทั้งหมด กลายเป็นคนที่ต้องจัดการดูแลงานให้คนอื่น ไม่ใช่คนที่ทำงานให้เสร็จ แปลว่าคุณต้องใช้ความสามารถการสื่อสาร การเป็นผู้นำและการร่วมมือ เพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันได้

 

  1. นาฬิกาจะจี้คุณมากกว่าเดิม

ฟรีแลนซ์หลายๆคนคุ้นชินกับการกำหนดส่งงานที่รู้ว่ามันปรับเปลี่ยนได้ พอรู้ว่าคนจ้างอยากได้งานวันไหน ก็จะเตรียมตัวได้ว่าจะชิวได้อีกกี่วัน และจะทำงานอีกกี่วัน แต่สำหรับคนทำสตาร์ทอัพแล้ว ต้องรับผิดชอบเรื่องการกำหนดวันส่งงานมากกว่าปกติ นอกเหนือจะทำให้เสร็จเท่านั้น ต้องกำหนดวันให้คนอื่นทำงานให้เสร็จ เพื่อจะเตรียมตัวสำหรับการทำอย่างอื่น เช่นงานพรีเซนต์ต้องเสร็จวันจันทร์เพื่อนำไปคุยวันพุธ

หากเป็นฟรีแลนซ์ วันไหนคุณไม่อยากทำงานก็แค่เลื่อนแล้วค่อยไปทำวันหลังเยอะๆแทน แต่เมื่อมีคนต้องพึ่ง และต้องการการจ่ายเงินตรงเวลา จึงไม่สามารถหยุดงานได้อีก

 

  1. มีเงินเข้า ก็มีเงินออก(ก่อน)

เมื่อตอนเป็นฟรีแลนซ์ ก็มีบางเวลาที่ลูกค้าไม่จ่ายเงินบ้างเป็นเรื่องปกติ (ที่ไม่อยากเจอ) แต่เมื่อคุณต้องการเงินจากเค้า คุณก็เพียงแค่ยื่นใบอินวอยให้เพื่อให้เค้าจ่าย เพื่อจะได้มีเงินมาจุนเจือคุณ

แต่การเป็น สตาร์ทอัพมันไม่ใช่ คุณไม่สามารถส่งใบอินวอยให้ลูกค้าจ่ายเงิน คุณต้องขายโปรดัคส์ของคุณเพื่อให้ได้เงินมา และหากบางทีคุณไม่สามารถขายได้ตามแผน หรือเกิดอุบัติเหตุเช่น ต้องปิดเว็บหรือแอพของคุณเพื่อแก้ไข ในช่วงเวลานั้นคุณจะไม่ได้เงินมา หรือแปลว่าคุณจะไม่มีเงินมาจ่ายลูกทีมคุณ ซึ่งแปลว่า คุณก็ต้องออกเงินไปก่อนระหว่างรอเงินขายกลับมาอีกที

 

  1. คุณติดต่อกับคนหลากประเภทขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์หรือทำสตาร์ทอัพ ก็ต้องติดต่อกับผู้คนทั้งนั้น ต้องแสดงว่าเรามีดีเรามีค่าในทั้งสองอย่าง แต่ที่แตกต่างคือ ฟรีแลนซ์ติดต่อกับลูกค้าเท่านั้น ในขณะที่สตาร์ทอัพติดต่อ นักลงทุน เป้าหมายการตลาด ผู้นำต่างๆในเวลาเดียวกัน

ตอนแรกๆคุณก็จะเจอคนประเภทเดียวๆกันไปเรื่อยๆ แต่เมื่อคุณยิ่งทำก็จะยิ่งเจอคนที่ต้องการมาคุยกับคุณ อยากจะทำธุรกิจกับคุณ นักลงทุนก็อยากจะได้เงิน ลูกค้าก็อยากได้ของที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น คุณก็ต้องปฏิสัมพันธ์กับหลากหลายผู้คน ฉะนั้นคุณต้องเตรียมงานพรีเซนต์หลายๆแบบเตรียมไว้ เพื่อคุณต้องพูดเรื่องงานกะทันหัน

 

  1. การเปลี่ยนไปมาก็คุ้มค่ากว่าที่คิด

ลองคิดดูว่าทำไมคนสติดีๆถึงอยู่ๆจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจ

สิ่งที่คุณทำจะเข้าถึงคนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วคนก็จะสนใจมากเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่อยากจ้างชั่วคราวผ่านๆไป

สำหรับคนที่ยังไม่เคย ข้อดีคือคุณจะได้เป็นนายตัวเอง แปลว่าคุณคุมอนาคตตัวเองทั้งหมด มันเป็นสิ่งที่เยี่ยมมากเมื่อเทียบกับฟรีแลนซ์ที่ชีวิตแขวนไว้กับลูกค้า มันเป็นความรู้สึกที่แย่ เมื่อลูกค้าทิ้งคุณไป คนทำสตาร์ทอัพยังโอเคตราบใดที่ยังมีลูกค้าอื่นๆใช้งานอยู่

นอกจากนี้ยังได้คุมการเงินของตัวเองอย่างที่ฟรีแลนซ์ไม่สามารถสัมผัสได้ แทนที่จะช่วยให้คนอื่นได้เงิน แต่ตอนนี้สร้างธุรกิจของตัวเองที่(หวังว่า)จะทำให้ได้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่ได้ถึงกับแบบสตีฟ จ็อบนะ แต่ก็มากกว่าตอนเป็นฟรีแลนซ์ก็พอแล้ว

ได้อ่านบทความนี้แล้วคิดยังไงกันบ้าง จะอยากเป็นฟรีแลนซ์เหมือนเดิม หรือว่าอยากจะลองเป็นคนใหม่ด้วยการทำสตาร์ทอัพกัน? ถึงจะทำอะไรก็ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จละกันนะคะ

 

Cr:http://www.fastcompany.com/3061544/lessons-learned/5-hard-lessons-i-learned-switching-from-freelancer-to-startup-founder

________________________________________________

เริ่มทำฟรีแลนซ์วันนี้ที่   😉 

footer-banner-for-blog

ฟรีแลนซ์ในหมวด Uncategorized

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.