การขยายธุรกิจโดยไม่ต้องเพิ่มยอดขาย

หากเราทำธุรกิจ สิ่งที่แน่นอนเลย คือเราต้องมีผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการจะขาย และอีกส่วนที่ต้องมีก็คือเรื่องของการแข่งขัน เมื่อเราทำธุรกิจ การแข่งขันกับบริษัทอื่นที่ให้บริการหรือขายสินค้าประเภทเดียวกับเราเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม

โปรโมชั่นจากร้าน Laemgate

Cr:

หากวันนี้เราเปิดร้านอาหาร เราอยากทำให้กิจการเติบโตขึ้นเราก็ต้องขายอาหารให้มากขึ้น โดยอาจจะใช้กลยุทธ์ในการเรียกลูกค้าให้มากขึ้น การตกแต่งร้านให้สวยงามขึ้น ในขณะที่เราพัฒนาร้านค้าของเรา ลูกค้าก็เริ่มให้ความสนใจในร้านอาหารของเรามากขึ้น เนื่องจากความสวยงามของร้านและการออกโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อเรียกลูกค้า

มาถึงวันนี้ร้านของเราเริ่มเป็นที่นิยมในละแวกนั้นๆ ลูกค้าหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น กำไรของร้านก็เติบโตขึ้นตามยอดขายเพิ่มขึ้น ในขณะที่เราไม่จำเป็นต้องลงทุนขยายร้านค้า ในเคสที่เรากำลังพูดถึงนี้ เราจะเห็นว่าร้านอาหารแห่งนี้สามารถสร้างทั้งรายได้และกำไรได้สำเร็จ

ธุรกิจต่างๆ รอบตัวเราล้วนดำเนินกลยุทธ์แบบเดียวกันนี้ นั้นก็คือการเพิ่มรายได้จากการขายให้มากขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งกำไรที่เติบโตตามยอดขาย หากเรามองในตลาดหุ้นเราก็จะพบว่ามีบริษัทจำนวนมากที่พยายามทำให้รายได้เติบโตขึ้น เช่น การหันไปสร้าง Solar Farm แน่นอนเลยว่าเมื่อโรงไฟฟ้าได้เปิดจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือที่เราเรียกว่า COD บริษัทก็จะมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องตลาดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า

Solar Farm

Cr: http://www.thaige.co.th/index.php/service

แต่จากการนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนของภาครัฐในปัจจุบัน ทำให้บริษัทจะไปขออนุญาติในการลงทุน Solar Farm ได้ไม่ยาก ดังนั้นบริษัททั้งหลายที่ใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันนี้ ถึงแม้จะมีรายได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเหนือกว่ากันเท่าไหร่นัก เหตุผลก็เพราะไม่ได้มีอะไรได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ร้านอาหารก็เช่นเดียวกัน หากเราเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์รูปแบบนี้ ท้ายที่สุดเราจะมีรายได้และกำไรมากขึ้น แต่เมื่อเทียบผลตอบแทนต่อเงินลงทุนแล้วเราจะพบว่าเราจะไม้ได้ต่างจากคนอื่นมากนัก

 

เรามาลองเปิดร้านอาหารอีกแห่ง โดยที่ร้านนี้ใช้กลยุทธ์ต่างออกไปจากร้านแรก แน่นอนว่าท้ายที่สุดแล้วเราต้องการรายได้และกำไรที่เติบโตขึ้น แต่นั้นจะเป็นเพียงผลพลอยได้จากการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป แทนที่จะเพิ่มยอดขายโดยการโปรโมทมากขึ้น ตกแต่งร้านให้ดีมากขึ้น ครั้งนี้เราจะมาวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารของเรา ในช่วงแรกๆเราอาจจะยังไม่เปิดร้านให้คนทั่วไปได้เข้ามาใช้บริการเพราะเราต้องการสูตรอาหารที่ดีก่อน การทำแบบนี้เราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยที่ยังไม่มีรายได้ หรือเรียกง่ายๆว่าขาดทุน

เมื่อเวลาผ่านไปเราพัฒนาสูตรได้สำเร็จ เราได้ทดลองจากคนรอบข้างหลายๆคนแล้วว่ารสชาตินั้นไม่เหมือนใครและอาจจะทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาติอย่างมาก จากนั้นเราก็เริ่มเปิดร้านค้าตามแผนของเรา ทีนี้เราจะตั้งชื่อร้านให้เป็นที่จดจำได้ง่ายเพื่อที่ลูกค้าจะสามารถจำได้ว่ารสชาติแบบนี้มีที่ร้านของเราที่เดียว แรกๆ ลูกค้าอาจจะยังไม่มากนั้นเพราะยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่เมื่อผู้คนเดินผ่านไปมาเริ่มทดลองชิมและเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เวลาผ่านไปสักพักร้านของเราก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากผู้คนละแวกนั้น จากนั้นเราก็พัฒนาสร้างแบรนด์ของเราให้ดีขึ้น เช่นการพัฒนาโลโก้และเสริมเรื่องเอกลักษณ์ของร้านอาหารอื่นๆเช่นการบริการ รวมถึงการออกแบบร้านอาหารให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น

รีวิวร้าน Monster Beef โดยเพจ ชีวิตติดรีวิว

Cr: https://www.facebook.com/TidReview/

 

ในยุคนี้พลังของ Social นั้นมีความสำคัญค่อนข้างมาก ลูกค้าที่มาร้านเริ่มมีความรู้สึกดีต่อร้านเรามากขึ้น จากการที่อาหารรสชาติดีไม่เหมือนใคร มีเอกลักษณ์ในการบริการที่น่าประทับใจ แน่นอนว่าจะต้องมีคนกลุ่มหนึ่งโพสลง Social เพื่อแนะนำร้านอาหารของเรา ไม่ว่าจะอยู่ไกลสัก 10 กิโลเมตร หากต้องการอาหารรสชาติดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องมาร้านเราที่เดียวเท่านั้น

After You Dessert Café ( Siam Paragon, ชั้น G)

Cr:

จะสังเกตุว่าร้านอาหารที่สองของเราใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปค่อนข้างมาก กลยุทธ์แบบนี้ไม่เน้นที่การเพิ่มยอดขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การที่ยอดขายและกำไรมากขึ้นจะเป็นผลพลอยได้จากการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เราจะเห็นหลายๆธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์แบบที่สอง ร้านค้าเหล่านี้มักมีความเป็นตัวของตัวเองและมีเอกลักษณ์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนจำนวนหนึ่ง ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้สามารถสร้างรายได้และกำไรที่มากกว่าร้านทั่วไปได้ หากเราจะมองถึงบริษัทในตลาดหุ้นก็จะมีเช่น After you

ความแตกต่างระหว่างสองกลยุทธ์นี้ก็คือเรื่องของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันมากกว่าการเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น บริษัทที่เน้นการเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียว ท้ายที่สุดแล้วจะพบว่าจริงๆ แล้วไม่มีความแตกต่างระหว่างคู่แข่งและบริษัทเองมากนัก และเมื่อไม่มีความแตกต่างเกิดขึ้น แน่นอนว่าความได้เปรียบของบริษัทนั้นก็จะไม่มีเหนือคู่แข่งเช่น Solar farm ที่ยกตัวอย่างเป็นต้น แต่บริษัทที่เน้นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการสร้างนวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบริษัท ความแตกต่างส่วนนี้เองที่จะทำให้เราได้เปรียบหากเราทำได้ดีกว่า

 

ท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขันที่ดีนั้นจะสามารถสร้างกำไรเหนือผู้อื่นได้สูงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าหลายสิบปี ในขณะที่บริษัทที่เน้นแต่การเพิ่มยอดขายโดยที่ไม่พัฒนาส่วนอื่นนั้นกลับสามารถกอบโกยกำไรได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การทำธุรกิจที่ดีและน่าลงทุนนั้น นอกจากจะต้องมีรายได้และกำไรที่ดี เรื่องของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าบางครั้งการพัฒนาจะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายบ้างทำให้กำไรลดลง แต่ก็ถือเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้นเพราะทุกธุรกิจล้วนจำเป็นต้องปรับตัวตามตลาดที่เปลี่ยนไป

ติดตามแบ่งปันความรู้การลงทุนได้ที่ Investdiary

ฟรีแลนซ์ในหมวด เทคนิคน่ารู้สำหรับฟรีแลนซ์

Related Posts
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.